“Superbug” วายร้าย ภัยคุกคามทางสุขภาพในศตวรรษที่ 21
Superbug คือเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ทางด้านสุขภาพที่อาจทำให้คนเสียชีวิตได้หากติดเชื้อชนิดนี้เพราะยากที่จะหายาปฏิชีวนะใดมารักษาได้ จากสถิติมีคนไทยเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยา เฉลี่ยวันละ 100 คน หรือ ทุกๆ 15 นาทีจะมีคนเสียชีวิต 1 คน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหากยังไม่มีการจัดการที่ดีพอ โดยคาดการณ์ว่าในปี คศ. 2050 จะมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาทั่วโลกปีละ 10 ล้านคน
ใครจะช่วยจัดการกับ Superbug ได้บ้าง
ทุกคนมีส่วนช่วยจัดการควบคุมไม่ให้ปัญหานี้ลุกลามโดยช่วยกันตระหนักและรู้จักใช้ยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะเท่าที่จำเป็นและสมเหตุสมผล
สิ่งที่ควรทราบและตระหนักเมื่อใช้ยาปฏิชีวนะ
- การใช้ยาปฏิชีวนะโดยที่ไม่มีความจำเป็น นอกจากจะไม่ช่วยให้หายจากโรค ยังอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ และที่สำคัญการรับประทานยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาตามมาได้
ดังนั้นควรใช้ยาปฏิชีวนะเท่าที่จำเป็นเมื่อแพทย์ หรือเภสัชกรสั่งให้ใช้เท่านั้น ไม่ควรไปซื้อหายามารับประทานเอง เพราะบ่อยครั้งที่โรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นนั้นไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
- ยาปฏิชีวนะไม่ใช่คำตอบเสมอไป บางคนเข้าใจผิดคิดว่ายาฆ่าเชื้อสามารถรักษาอาการอักเสบได้ทุกชนิด แต่ในความเป็นจริงแล้ว เฉพาะคนไข้ที่มีการอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เมื่อได้รับยาปฏิชีวนะอาการอักเสบจะทุเลาลงได้ เนื่องจากยาปฏิชีวนะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ จึงดูเสมือนว่ายาปฏิชีวนะใช้แก้อักเสบได้ ดังนั้นข้อบ่งใช้ของการใช้ยาปฏิชีวนะจึงใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่ได้ใช้เพื่อเป็นยาแก้อักเสบ
- ยาปฏิชีวนะไม่มีผลต่อเชื้อไวรัส ไม่ทำให้อาการดีขึ้นถ้าคุณติดเชื้อไวรัส ไวรัสที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจยกตัวอย่างเช่น อาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอนั้น พบว่าร้อยละ 80 นั้นเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมักหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งท่านสามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับการรักษาเพื่อบรรเทาอาการระหว่างที่ติดเชื้อไวรัส
- หากจำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ให้รับประทานตรงตามที่แพทย์แนะนำ ควรใช้ให้ถูกขนาดยา ตรงตามมื้อและครบตามจำนวนที่ได้รับมา แม้ว่าอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นแล้วก็ควรรับประทานยาให้ครบตามจำนวนที่ได้รับมาจนหายขาด
- อย่านำยาปฏิชีวนะที่เหลือค้างหรือรับมาจากผู้อื่นมารับประทาน เพราะนอกจากการส่งเสริมให้เกิดการดื้อยาแล้ว ยังอาจทำให้อาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ไม่ดีขึ้นหรือเกิดอาการแพ้ยาได้
- ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรของท่าน หากท่านมีคำถามเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือหากท่านมีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาปฏิชีวนะ
ยาปฏิชีวนะสามารถช่วยชีวิตได้ ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ ให้พึงระลึกไว้ว่า ประโยชน์ต้องมากกว่าความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงจากยา ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับผลข้างเคียงของยาปฏิชีวนะ
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยาปฏิชีวนะ มีดังนี้
- ผื่น
- เวียนศีรษะ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- การติดเชื้อรา
- ท้องเสีย
ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงจากการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น
การติดเชื้อ
Clostridium difficile ซึ่งทำให้เกิดอาการท้องเสียและก่อให้เกิดการทำลายลำไส้ นำไปสู่การเสียชีวิตได้ และนอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจเกิดการแพ้ยาปฏิชีวนะที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
หากท่านสงสัยว่าไวรัส หรือ แบคทีเรียอะไรที่ทำให้เราป่วย แบบไหนที่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ สามารถศึกษาได้จากตารางเปรียบเทียบด้านล่างนี้
โรคที่พบบ่อย
|
สาเหตุที่พบบ่อย
|
ความจำเป็นในการใช้ยาปฏิชีวนะ
|
แบคทีเรีย
|
แบคทีเรียหรือไวรัส
|
ไวรัส
|
คอหอยอักเสบจากเชื้อ streptococcus
|
•
|
|
|
จำเป็น
|
ไอกรน
|
•
|
|
|
จำเป็น
|
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
|
•
|
|
|
จำเป็น
|
โพรงจมูกอักเสบ
|
|
•
|
|
อาจจะ
|
หูชั้นกลางอักเสบ
|
|
•
|
|
อาจจะ
|
หลอดลมอักเสบ (ในเด็กและผู้ใหญ่สุขภาพดี)
|
|
•
|
|
อาจจะ*
|
หวัด/น้ำมูกไหล
|
|
|
•
|
ไม่จำเป็น
|
อาการเจ็บคอ (ยกเว้นคอหอยอักเสบจากเชื้อ streptococcus)
|
|
|
•
|
ไม่จำเป็น
|
ไข้หวัดใหญ่
|
|
|
•
|
ไม่จำเป็น
|
*จากการศึกษาในผู้ใหญ่และเด็กสุขภาพดีพบว่า การใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับหลอดลมอักเสบไม่ทำให้อาการดีขึ้น
|
เพียงเรารับรู้ตระหนักและปรับพฤติกรรมเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะ เริ่มจากรู้ถึงภัยของเชื้อดื้อยา ลดการใช้ยาไม่ตรงกับโรค เช่น ไข้หวัด เจ็บคอ ไม่ควรรับประทานยาปฏิชีวนะ หรือยาต้านเชื้อแบคทีเรีย โดยไม่จำเป็น และหากจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะก็ควรใช้ตามคำแนะนำให้ถูกต้องและติดต่อกันจนครบตามที่กำหนด เพียงเท่านี้ก็ช่วยกันควบคุมไม่ให้เชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น และกลับมาส่งผลต่อตัวเรา ครอบครัว และผู้ป่วยคนอื่นๆ ในอนาคตได้
#รู้รักษ์ตระหนักใช้ยาปฏิชีวนะอย่างปลอดภัย#ห่างไกลเชื้อดื้อยา
References:
1. Centers for Disease Control and Prevention. Viruses or Bacteria What’s got you sick?. Available from: https://www.cdc.gov/antibiotic-use/community/pdfs/Viruses-or-Bacteria-Factsheet-Eng.pdf [Accessed 31 Oct 2019].
2. Centers for Disease Control and Prevention. Appropriate Antibiotic Use: Community. Available from: https://www.cdc.gov/antibiotic-use/community/about/should-know.html [Accessed 31 Oct 2019].
3. สำนักงานสนับสนุนส่งเสริมสุขภาพ. 10 พฤติกรรมนำพา ‘เชื้อดื้อยา’. Available from: https://www.thaihealth.or.th/Content [Accessed 1 Nov 2019].
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 23 ธันวาคม 2566