ต่อมลูกหมากโต โรคบั่นทอนคุณภาพชีวิต
โรคต่อมลูกหมากโต เป็นโรคที่ผู้ชายทุกคนอยากหลีกเลี่ยง แต่เลี่ยงไม่ค่อยได้เพราะต่อมลูกหมากจะค่อยๆโตขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้นโรคต่อมลูกหมากโตจึงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
โรคต่อมลูกหมากโตเป็นอันตรายหรือไม่
โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก เนื่องจากต่อมลูกหมากอยู่ล้อมรอบท่อปัสสาวะ เมื่อมีขนาดโตขึ้นจึงไปเบียดท่อปัสสาวะให้แคบลง ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการปัสสาวะ อย่างไรก็ตามหากปล่อยทิ้งไว้จนมีอาการเรื้อรัง อาจทำให้การทำงานของไตเสื่อมลงได้
สังเกตได้อย่างไรว่าอาจเป็นโรคต่อมลูกหมากโต
ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงของโรคแตกต่างกันและอาการมักจะแย่ลงหากไม่รักษา อาการไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของต่อมลูกหมาก ผู้ที่มีต่อมลูกหมากโตมากอาจมีอาการน้อยกว่าผู้ที่ต่อมลูกหมากโตน้อยกว่าก็เป็นได้
อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่
- ปัสสาวะนาน ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะเป็นหยดๆ
- ตื่นปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
- กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ด
อาการที่พบไม่บ่อย ได้แก่
ตรวจวินิจฉัยได้อย่างไร
- ซักประวัติโดยละเอียดและตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (DRE: Digital Rectal Examination) เพื่อประเมินขนาดและความผิดปกติของต่อมลูกหมาก
- เจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง (PSA: Prostatic-Specific Antigen) ระดับ PSA สูงบอกถึงความผิดปกติของต่อมลูกหมาก เช่น ต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากอักเสบและและมะเร็งต่อมลูกหมาก
- ตรวจอัลตร้าซาวด์ระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อประเมินขนาดและความผิดปกติของต่อมลูกหมาก
- ทดสอบอัตราการไหลของปัสสาวะและวัดปริมาณปัสสาวะที่ค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
- ตรวจความผิดปกติในปัสสาวะ
แนวทางในการรักษามีอย่างไรบ้าง
แนวทางในการรักษาต่อมลูกหมากไม่ได้ดูจากขนาดของต่อมลูกหมากแต่ดูจากอาการ ถึงแม้ต่อมลูกหมากมีขนาดโตมากแต่ผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มน้ำ หากยังมีอาการไม่มาก แพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มน้ำโดยลดปริมาณน้ำดื่มก่อนนอน ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- การรักษาด้วยยา ปัจจุบันมียาอยู่ 3 กลุ่มหลักๆ กลุ่มแรกคือยาที่ทำให้กล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากคลายตัว ทำให้ปัสสาวะคล่องขึ้น กลุ่มที่สองคือยาลดขนาดต่อมลูกหมาก ซึ่งต้องใช้อย่างต่อเนื่องประมาณ 6 เดือนถึงจะเริ่มเห็นผล หากหยุดยาต่อมลูกหมากจะกลับมาโตได้อีก กลุ่มที่สาม เป็นสารสกัดจากซอร์ พัลเมตโต (Saw Palmetto berry) ช่วยลดอาการอักเสบ ทำให้ปัสสาวะคล่องขึ้น แต่ประสิทธิภาพในการลดอาการอาจไม่ดีเท่ากับยา
- การรักษาด้วยการผ่าตัด หากรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการข้างเคียงจากยามากหรือยังมีอาการแทรกซ้อนที่ทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ เช่น การอักเสบติดเชื้อ ปัสสาวะเหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะเยอะมากหลังจากปัสสาวะสุดไปแล้ว ทำให้การทำงานของไตแย่ลงหรือมีเลือดออกปนในปัสสาวะ แพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดรักษาซึ่งมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น
- การรักษาด้วยไอน้ำ เทคโนโลยีใหม่ในการรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยการส่องกล้องเข้าไปในท่อปัสสาวะและฉีดไอน้ำเข้าไปในต่อมลูกหมากทำให้เซลล์ต่อมลูกหมากที่อุดตันท่อทางเดินปัสสาวะตาย หลังจากนั้นร่างกายจะกำจัดเซลล์ที่ตายออกไปตามธรรมชาติ ทำให้ท่อปัสสาวะกว้างขึ้น ปัสสาวะได้คล่องขึ้น เป็นวิธีที่สะดวก ง่ายและภาวะแทรกซ้อนน้อย
โรคต่อมลูกหมากโตถึงแม้จะป้องกันไม่ได้แต่รักษาได้หลากหลายวิธี ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ บำรุงราษฎร์ประกอบด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านโรคทางเดินปัสสาวะและสาขาวิชาชีพที่มีความรู้ด้านการดูแลผู้ป่วยโรคทางเดินปัสสาวะที่พร้อมให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตและโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมากอื่นๆ ไม่ว่าจะยากและซับซ้อนเพียงใด
ทำการนัดหมายแพทย์
นพ.จรัสพงศ์ ดิศรานันท์
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 26 มกราคม 2567