bih.button.backtotop.text

การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)

การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (Exercise Stress Test) เป็นการตรวจชนิดหนึ่งซึ่งสามารถวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขณะออกกำลังกาย ช่วยให้แพทย์ตรวจพบการตอบสนองที่ผิดปกติ เช่น อาการหายใจลำบาก อาการเจ็บแน่นหน้าอก การเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยการตอบสนองที่ผิดปกตินี้จะบ่งชี้ว่ามีการขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจในระหว่างการออกกำลังกาย

ขั้นตอนการตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง)
  • เจ้าหน้าที่จะซักประวัติย่อของผู้เข้ารับการตรวจ โดยเน้นที่อาการปัจจุบันและประวัติคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ
  • เจ้าหน้าที่จะนำแผ่นขั้วไฟฟ้า (electrode) ที่มีสายไฟต่ออยู่มาติดที่หน้าอกของผู้เข้ารับการตรวจ เพื่อส่งสัญญาณจังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจไปยังเครื่อง โดยระหว่างการตรวจเจ้าหน้าที่จะเฝ้าสังเกตความดันโลหิตและคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลาที่ตรวจ
  • เมื่อเริ่มขั้นตอนการออกกำลัง ผู้เข้ารับการตรวจจะเดินช้าๆ บนสายพานออกกำลัง โดยความเร็วและความชันของสายพานจะเพิ่มขึ้นทุกสามนาที เมื่ออัตราการเต้นของหัวใจถึงระดับที่ต้องการหรือผู้เข้ารับการตรวจไม่สามารถออกกำลังกายต่อได้แล้ว เจ้าหน้าที่จะหยุดสายพาน
  • งดอาหารและเครื่องดื่มก่อนการทดสอบ 2 ชั่วโมง ควรงดอาหารมัน งดดื่มชา กาแฟและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • สามารถรับประทานยาตอนเช้าวันที่มาตรวจได้ตามปกติ เว้นแต่แพทย์สั่งให้งดยารักษาโรคหัวใจบางชนิดซึ่งอาจทำให้ผลการทดสอบผิดเพี้ยน โดยควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่รับประทานอยู่ก่อนเข้ารับการตรวจ
  • กรุณานำรายการยาที่บอกปริมาณที่ได้รับมาด้วยเมื่อมาพบแพทย์
  • สวมเสื้อผ้าหลวมๆ ที่ใส่สบาย และรองเท้าที่เหมาะกับการออกกำลังกาย

ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีหากต้องการให้สายพานทำงานช้าลงหรือหยุด หรือเมื่อมีอาการต่อไปนี้

  • อาการแสบร้อน ปวด หรือแน่นหน้าอก
  • คลื่นไส้ วิงเวียน อ่อนเพลีย

เมื่อยุติการทดสอบแล้ว เจ้าหน้าที่จะยังบันทึกข้อมูลความดันโลหิตและชีพจรของผู้เข้ารับการตรวจจนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หากแพทย์สงสัยว่าอาจมีความผิดปกติ อาจให้ทำการทดสอบเพิ่มหรือแนะนำให้เข้ารับการตรวจด้วยวิธีอื่นเพื่อให้เห็นผลชัดเจนขึ้น ทั้งนี้หลังการตรวจผู้เข้ารับการตรวจสามารถรับประทานอาหาร ยา และทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติเว้นแต่แพทย์จะห้าม

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน

ดูเพิ่มเติม

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.31 of 10, จากจำนวนคนโหวต 35 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง