bih.button.backtotop.text

โรคข้อสะโพกเสื่อม

ข้อสะโพกเสื่อม มีสาเหตุเกิดขึ้นได้หลายอย่าง แต่ที่พบได้บ่อยคือ
• ภาวะข้อสะโพกเสื่อมแบบปฐมภูมิ ที่ไม่มีสาเหตุเด่นชัด (Primary OA Hip)
• ภาวะความผิดปกติของข้อสะโพกที่มีมาแต่กำเนิด หรือในช่วงของการเจริญเติบโต แต่มาแสดงอาการเมื่ออายุมากขึ้น (Developmental Dysplasia of the Hip, DDH)
• ภาวะหัวกระดูกข้อสะโพกตาย (Osteonecrosis of Femoral Head, ONFH)
• เกิดขึ้นภายหลังจากกระดูกหัวสะโพกหรือเบ้าสะโพกหัก (Post-traumatic OA Hip)
• ภาวะติดเชื้อในข้อสะโพก (Septic Arthritis of Hip Joint)
• โรคข้ออักเสบต่างๆ เช่น Rheumatoid Arthritis, Ankylosing Spondylitis

สาเหตุของข้อสะโพกเสื่อม
01_hip-osteoarthritis-(2).jpg 02_hip-osteoarthritis_1321x1019px-(3).jpg
 ข้อสะโพกเสื่อมจากการพัฒนาการผิดปกติ ก่อนผ่า ข้อสะโพกเสื่อมจากการพัฒนาการผิดปกติ หลังผ่า



ข้อสะโพกเสื่อม มีสาเหตุเกิดขึ้นได้หลายอย่าง แต่ที่พบได้บ่อยคือ

  • ภาวะข้อสะโพกเสื่อมแบบปฐมภูมิ ที่ไม่มีสาเหตุเด่นชัด (Primary OA Hip)
  • ภาวะความผิดปกติของข้อสะโพกที่มีมาแต่กำเนิด หรือในช่วงของการเจริญเติบโต แต่มาแสดงอาการเมื่ออายุมากขึ้น (Developmental Dysplasia of the Hip, DDH)
  • ภาวะหัวกระดูกข้อสะโพกตาย (Osteonecrosis of Femoral Head, ONFH)
  • เกิดขึ้นภายหลังจากกระดูกหัวสะโพกหรือเบ้าสะโพกหัก (Post-traumatic OA Hip)
  • ภาวะติดเชื้อในข้อสะโพก (Septic Arthritis of Hip Joint)
  • โรคข้ออักเสบต่างๆ เช่น Rheumatoid Arthritis, Ankylosing Spondylitis

ภาพตัวย่าง X-ray ตัวอย่างอาการผิดปกติของข้อสะโพก
 
03_hip-osteoarthritis_442x414px.jpg 04_hip-osteoarthritis-(1).jpg
ข้อสะโพกเสื่อมจากการพัฒนาการผิดปกติ (ก่อนผ่า) หัวกะโหลกข้อสะโพกขาดเลือด
ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณสะโพก โดยเฉพาะบริเวณขาหนีบ อาการเจ็บปวดมักเกิดขึ้นเมื่อมีกิจกรรมต่างๆ เช่นการเดิน อาการเจ็บปวดอาจจะร้าวลงไปที่บริเวณหัวเข่าร่วมด้วย แต่มักจะไม่มีอาการชาหรือร้าวลงไปจนถึงปลายเท้า อาการ เริ่มต้นจากมีความรู้สึกติดขัดเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อสะโพก และเมื่อเวลาผ่านไปอาการปวดจะมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่สามารถเดินได้ตามปกติ และการเคลื่อนไหวข้อสะโพกมักจะติดขัด
ก่อนการรักษา แพทย์จะตรวจดูสภาพของข้อสะโพกจากภาพถ่ายทางรังสี หรืออาจทำ CT scan หรือ MRI เพื่อประเมินสภาพความรุนแรงของข้อสะโพกที่เสื่อมนั้น
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของข้อสะโพกเสื่อมนั้น การพิจารณาการรักษามักต้องดูสภาพของข้อสะโพกจากภาพถ่ายทางรังสี หรืออาจจะต้องทำ CT scan, MRI เพื่อประเมินสภาพความรุนแรงของข้อสะโพกที่เสื่อมนั้น
 
การรักษาเบื้องต้นในผู้ป่วยที่ยังมีการเสื่อมน้อยๆ นั้นมักจะรักษาตามอาการ เช่น การทานยา การทำกายภาพบำบัด
ผู้ป่วยที่มีความเสื่อมของข้อสะโพกในระดับรุนแรงมักต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก
 
05_hip-osteoarthritis_670x517px.jpg 06_hip-osteoarthritis.jpg
ภาพ X-ray การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแบบ 1 ข้าง และ 2 ข้าง
 
07_hip-osteoarthritis.jpg
ตัวอย่างภาพชิ้นส่วนข้อสะโพกเทียม

ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีความเสื่อมของข้อสะโพกและข้อเข่า โดยรวมแพทย์ผู้ชำนาญและมีประสบการณ์ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ทีมแพทย์ของเราให้การดูแลรักษาและผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมให้ผู้ป่วยมามากกว่าพันราย ประสบการณ์ในการทำงานด้านเปลี่ยนข้อเทียมมากกว่าสิบปี โดยใช้ข้อเทียมที่ดีมีมาตรฐาน และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เรายังมีทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลเตรียมผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด และดูแลฟื้นฟูสภาพภายหลังการผ่าตัด ทีมศัลยแพทย์ข้อสะโพกและข้อเข่าเทียมยังเป็นทีมแพทย์ที่มีชื่อเสียงในวงการแพทย์ข้อสะโพกและข้อเข่าเทียมทั้งภายในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
นอกจากนี้เรายังมีทีมแพทย์เฉพาะทางในสาขาที่เกี่ยวข้องและทีมสหสาขาวิชาชีพที่ชำนาญพิเศษในการดูแลผู้ป่วยโรคข้อ ซึ่งทำงานเป็นทีมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างดีที่สุดตั้งแต่ก่อนการผ่าตัด ไปจนถึงการฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัด เป้าหมายของเราคือการทำให้ผู้ป่วยกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีและทำกิจกรรมที่ชื่นชอบได้เหมือนเดิม

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและข้อ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.68 of 10, จากจำนวนคนโหวต 142 คน

Related Health Blogs