bih.button.backtotop.text

มะเร็งตับ

มะเร็งตับเกิดขึ้นได้โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ 1. เกิดขึ้นที่ตับโดยตรง และ 2. เซลล์มะเร็งลุกลามมายังตับ สาเหตุของมะเร็งที่เกิดขึ้นกับตับโดยตรง มักพบจากผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ตับอักเสบจากไขมันพอกตับ และดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
 
ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลกในปี 2563 มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในคนไทย เป็นจำนวนมากถึง 27,394 ราย หรือคิดเป็น 14.4% ของโรคมะเร็งทั้งหมด ในจำนวนนี้ผู้ป่วย 26,704 รายเสียชีวิต ซึ่งคิดเป็น 21.4% ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั้งหมด มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในชายไทย และพบมากเป็นอันดับ 4 ในผู้หญิงไทย การพยากรณ์โรคมะเร็งตับขึ้นอยู่กับระยะที่ตรวจพบ เมื่อเริ่มวินิจฉัย โดยทั่วไปแล้วอัตราการอยู่รอดที่ 5 ปีคือ 20% โดยผู้ที่มีระยะของโรคที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งออกไปนอกตับแล้วจะมีโอกาสอยู่รอดที่ 3 เปอร์เซ็นต์ที่ 5 ปี ในขณะผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยในระยะที่โรคมีขนาดไม่ใหญ่ จะมีอัตราการอยู่รอดที่ 34% ที่ 5 ปี

ชนิดของมะเร็งตับ
  • มะเร็งของเซลล์ตับ (hepatocellular carcinoma) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดทั่วโลก และพบมากที่สุดในประเทศไทย
  • มะเร็งตับอื่นๆ เช่น มะเร็งของท่อน้ำดีในตับ (intrahepatic cholangiocarcinoma) มะเร็งของเส้นเลือดในตับ (angiosarcoma and hemangiosarcoma) และมะเร็งตับที่พบในเด็ก (hepatoblastoma)
  • เพศชาย
  • ประชากรในประเทศเอเชียตามมาด้วยกลุ่มลาตินอเมริกา
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติไวรัสตับอักเสบบีหรือซี
  • ผู้ป่วยที่มีโรคตับแข็งจากสาเหตุใดก็ตาม เช่น ภาวะไขมันเกาะตับจนทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ, กลุ่มโรคที่มีการอักเสบของท่อน้ำดีเรื้อรัง, หรือกลุ่มโรคพันธุกรรมที่ทำให้มีเหล็กพอกตับ
  • การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
  • การสูบบุหรี่
  • โรคอ้วน เบาหวานและกลุ่มโรคเมตาบอลิก
  • การได้รับสารพิษชนิด Aflatoxins
  • การได้รับสาร vinyl chloride และ thorium dioxide ที่พบในอุตสาหกรรมพลาสติกมาเป็นเวลานาน
  • การใช้ฮอร์โมนประเภท anabolic steroids เช่น ฮอร์โมนเพศชายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้ออย่างผิดวิธี
มะเร็งตับในระยะแรก มักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อเป็นมากขึ้นอาจมีอาการ ดังนี้
การรักษามะเร็งตับ จะขึ้นกับสภาวะความรุนแรงของโรค ขนาดและลักษณะของเซลล์มะเร็ง ระยะของโรคและการแพร่กระจายของมะเร็ง รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย หากมองที่แผนการรักษาจะสามารถแบ่งระยะของโรคได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ภาวะที่สามารถผ่าตัดได้หรือปลูกถ่ายตับได้ ภาวะที่ผ่าตัดไม่ได้แต่โรคยังไม่กระจาย และภาวะที่โรคได้กระจายไปนอกตับและอวัยวะอื่นแล้ว โดยแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย 
การป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับมะเร็งตับ คือ การป้องกันและตรวจคัดกรองหามะเร็งตับ เนื่องจาก 90% ของมะเร็งตับเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีจึงมีโอกาสเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับสูง หากมีมะเร็งตับเกิดขึ้น มะเร็งตับจะโตขึ้นเป็น 2 เท่าภายในเวลา 3-6 เดือน ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีและซีควรต้องเข้ารับการตรวจการทำงานของตับและตรวจคัดกรองมะเร็งตับโดยการเจาะเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ (alpha-fetoprotein) และตรวจอัลตร้าซาวด์ตับทุก 3-6 เดือน
การป้องกันและลดความเสี่ยงของมะเร็งตับทำได้หลายวิธีเช่น
  • การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี
  • การจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
  • การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของสารพิษเช่น Aflatoxins
  • การรักษาโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้มีความเสี่ยงของการเกิดตับแข็งเช่น โรคเหล็กพอกตับ
  • ตรวจยีนในผู้ป่วยที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งตับ
แก้ไขล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2567

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดบำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.03 of 10, จากจำนวนคนโหวต 279 คน

Related Health Blogs