bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดหลอดเลือดแดงโป่งพองในช่องท้อง

การผ่าตัดใหญ่แบบเปิดหน้าท้อง (open surgery) ถือเป็นเป็นวิธีมาตรฐานของการรักษา ใช้เวลาผ่าตัดนาน 2-4 ชั่วโมง ผู้ป่วยต้องดมยาสลบ จากนั้นแพทย์จะทำการผ่าช่องท้องหรือด้านข้างผ่านชั้นผิวหนังและเนื้อเยื่อเพื่อเปิดเข้าไปยังเส้นเลือดแดงเอออร์ตา ณ จุดที่โป่งพอง เข้าไปตัดส่วนของหลอดเลือดที่เป็นพยาธิสภาพออกแล้วเย็บต่อหลอดเลือดเทียม (vascular graft) ซึ่งเป็นท่อยาวทำมาจากวัสดุสังเคราะห์เข้าไปแทน หลอดเลือดเทียมนี้จะใส่ไว้ถาวรและมีอายุใช้งานยาวนาน

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนในการรักษา
ระดับความรุนแรงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคลก่อนการผ่าตัด ซึ่งความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
  • มีเลือดออก ร้อยละ 2-5
  • ภาวะหลอดเลือดขาขาดเลือดมาเลี้ยง (leg ischemia) ร้อยละ 1-4
  • ภาวะลำไส้ขาดเลือดมาเลี้ยง (colon ischemia) ร้อยละ 1-2
  • ภาวะหลอดเลือดดำเกิดการอุดตัน ร้อยละ 5-8
  • การติดเชื้อของแผลผ่าตัด (น้อยกว่าร้อยละ 2-6)
  • การทำงานของไตบกพร่อง ร้อยละ 5-12
  • ภาวะปอดอักเสบ (pneumonia) ร้อยละ 5
  • กล้ามเนื้อหัวใจตาย ร้อยละ 2-8
  • อัมพาต (permanent stroke) ร้อยละ 1-2
  • หลอดเลือดเทียมเกิดการอุดตัน (น้อยกว่าร้อยละ 1)
  • การติดเชื้อของหลอดเลือดเทียม (น้อยกว่าร้อยละ 1)
แพทย์จะแนะนำการรักษาด้วยยากรณีที่ผู้ป่วยมีขนาดหลอดเลือดแดงโป่งพองขนาดเล็กและไม่มีอาการผิดปกติ แต่ผู้ป่วยต้องมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามดูขนาดของหลอดเลือดว่าโตขึ้นหรือไม่ ทางเลือกอื่นของการรักษา ได้แก่ การผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้องหรือทรวงอก (endovascular aortic aneurysm repair (EVAR) หรือ thoracic endovascular aortic aneurysm repair (TEVAR)) ทั้งนี้ทางเลือกของการรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์

Doctors Related

Related Centers

Related Packages

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs