bih.button.backtotop.text

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis Treatment) เป็นการบำบัดทดแทนไตวิธีหนึ่ง โดยการนำเลือดจากหลอดเลือดที่เตรียมไว้แล้วออกจากร่างกายผ่านเข้ามาในตัวกรองเลือด เลือดที่ถูกกรองแล้วจะไหลกลับเข้าร่างกายทางหลอดเลือดอีกด้านหนึ่ง วิธีการนำเลือดเข้า-ออกทางหลอดเลือดนี้คล้ายกับการให้เลือดหรือการให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด

ข้อบ่งชี้สำหรับการฟอกเลือด
ข้อบ่งชี้สำหรับการฟอกเลือด
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีสมรรถภาพไตลดลงจนเหลือการทำงานน้อยกว่า 10% ซึ่งสามารถตรวจดูค่าไนโตรเจนในเลือด (BUN) และตรวจดูระดับของเสียที่เรียกว่าครีเอตินิน (Creatinine)  เมื่อถึงระยะสุดท้ายของโรคไตเรื้อรังผู้ป่วยมักมีผลตรวจ BUN มากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือค่าครีเอตินินสูงกว่า 8-10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยอย่างมาก
 
ความสำเร็จขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น ความสม่ำเสมอในการรักษา ความเข้มแข็งและสภาพร่างกายของผู้ป่วย ความร่วมมือในการรักษา การควบคุมอาหารและน้ำดื่มตามคำแนะนำของแพทย์ ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
 
คือ การแลกเปลี่ยนของเสีย เกลือแร่ น้ำส่วนเกินในเลือดกับน้ำยาฟอกเลือด ผ่านทางตัวกรองเลือดที่จำลองเหมือนการกรองของเสียผ่านไต โดยทั่วไปทำครั้งละ 4-5 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
เมื่อเริ่มฟอกเลือด เครื่องไตเทียมจะทำหน้าที่ล้างของเสีย เกลือแร่ กรดและน้ำส่วนที่เกินออกจากร่างกายของผู้ป่วย ดังนั้นอาการอันเกี่ยวข้องกับระบบประสาท ได้แก่ มึนงง สับสน ไม่รู้สติ กระตุก หรือชัก รวมทั้งอาการของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารจะหายไป
อาการของโรคไตที่สมรรถภาพการทำงานของไตลดลง
  1. ภาวะยูรีเมีย
เกิดจากการที่มีสารยูเรียคั่งในกระแสเลือด (สารที่ได้จากการสลายโปรตีนที่หมดสภาพในร่างกาย) ผู้ป่วยอาจหายใจมีกลิ่นคล้ายแอมโมเนีย อาการผิดปกติในระยะนี้แสดงออกมาให้เห็นทางระบบประสาทและทางระบบทางเดินอาหาร กล่าวคือ ทางระบบประสาท ผู้ป่วยมักมีอาการมึนงง สับสน พูดจาไม่รู้เรื่อง ไม่มีเหตุผล จำวัน-เวลาสถานที่ไม่ได้ และเมื่อเป็นมากขึ้นก็อาจมีอาการกระตุก ซึมหมดสติ และอาจมีอาการชัก ส่วนอาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ เบื่ออาหาร สะอึก คลื่นไส้ อาเจียน มีแผลในปาก ท้องเดิน เป็นต้น
  1. การคั่งของเกลือโซเดียม โพแทสเซียมและน้ำ
เกลือโซเดียมและน้ำทำให้เกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง ในกรณีที่รุนแรงมากอาจมีภาวะการบีบตัวของหัวใจล้มเหลว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหอบ เหนื่อย แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้   นอกจากนั้นหากมีระดับเกลือโพแทสเซียมในเลือดขึ้นสูงก็อาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จนอาจหยุดกะทันหัน ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
  1. การคั่งของกรดในเลือด
เกิดจากการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด (ต่ำกว่า 15 มิลลิโมลต่อลิตร) ผู้ป่วยมักมีอาการหอบและทำให้เกิดอาการทางสมองมากขึ้น
เกิดการคั่งของของเสีย เกลือแร่ น้ำหรือสารพิษต่างๆ มากขึ้นจนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
แก้ไขล่าสุด: 15 มิถุนายน 2564

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ไตเทียม

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์โรคไต

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.38 of 10, จากจำนวนคนโหวต 16 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง