bih.button.backtotop.text

ท้องผูก

ท้องผูก หมายถึง ภาวะที่มีความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ โดยมีลักษณะอุจจาระที่แข็ง หรือมีอาการถ่ายลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งมากเวลาถ่ายอุจจาระ หรือใช้เวลาในการขับถ่ายเป็นเวลานาน หรือมีอาการถ่ายไม่สุด มีอาการปวดอยากถ่ายอีกภายหลังจากถ่ายอุจจาระไปแล้ว ต้องใช้นิ้วหรือใช้น้ำช่วยในการขับถ่าย

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น
  • จากโรคต่างๆ เช่น
    • เบาหวาน
    • ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
    • ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
    • โรคทางระบบประสาทต่างๆ เช่น ได้รับบาดเจ็บหรือมีโรคที่สมองหรือไขสันหลัง โรคพาร์กินสัน หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)
    • ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
  • จากยาที่รับประทานประจำ มียาหลายชนิดที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น
    • ยาในกลุ่ม tricyclic antidepressant เช่น amitriptyline หรือ nortriptyline ยารักษาอาการซึมเศร้า
    • ยาที่ทำให้การบีบตัวของทางเดินอาหารน้อยลง ยาลดการบีบเกร็งของลำไส้ที่ใช้แก้ปวดท้อง เช่น Buscopan®
    • ยารักษาโรคพาร์กินสัน
    • ยากันชัก เช่น Dilantin®
    • ยาลดความดันโลหิต ได้แก่ diltiazem, verapamil, clonidine
    • ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีนหรืออนุพันธ์ของมอร์ฟีน เช่น พาราเซตามอลชนิดที่มีส่วนผสมของโคเดอีน
    • เหล็กที่มีอยู่ในยาบำรุงเลือด
    • ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแคลเซียมหรืออะลูมิเนียม
    • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) เช่น diclofenac, piroxicam และ indomethacin
    • ยาอื่นๆ เช่น cholestyramine
  • จากการอุดกั้นของลำไส้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดท้องผูกได้ ได้แก่
    • มะเร็งหรือเนื้องอกของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
    • ลำไส้ตีบตัน (stricture)
    • ลำไส้บิดพันกัน (volvulus)
    • ความผิดปกติที่ทวารหนัก เช่น ภาวะช่องทวารหนักหย่อน (rectocele) การมีทวารหนักยื่น (rectal prolapse) การตีบของทวารหนัก (anal stenosis)
  • จากการทำงานของลำไส้หรือกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายผิดปกติ
    • การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง (anorectal dysfunction หรือ anismus)
    • การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่น้อยกว่าปกติหรือมีการเคลื่อนไหวไม่ประสานกัน ทำให้อุจจาระเคลื่อนไหวภายในลำไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ (colonic inertia)
    • ภาวะลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome)
  • ปัจจัยอื่นๆ เช่น
    • มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
    • รับประทานอาหารที่มีกากและดื่มน้ำน้อย
    • มีนิสัยในการขับถ่ายไม่ดี
  • มีอาการซีด
  • ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือมีมูกเลือด
  • น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ท้องผูกและมีอาการปวดท้องมาก ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน
  • การซักประวัติผู้ป่วย แพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย เช่น ความลำบากในการเบ่งถ่ายอุจจาระ ระยะเวลาของอาการท้องผูกและลักษณะของอุจจาระ ยาที่รับประทานประจำ โรคประจำตัว อาการอื่นๆ ที่เป็นร่วมกับอาการท้องผูก ประวัติในครอบครัวเกี่ยวกับโรคลำไส้อักเสบ เป็นต้น
  • การตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อหาอาการบ่งชี้ของการมีเนื้องอก เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์จะทำการตรวจร่างกายผู้ป่วยเพื่อหาหลักฐานที่บ่งบอกสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องผูก เช่น บวม ผิวแห้ง เชื่องช้า ซึ่งเป็นลักษณะของต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ และการมีความผิดปกติของระบบประสาทซึ่งบ่งถึงโรคทางระบบประสาทที่อาจเป็นสาเหตุของท้องผูกได้ เป็นต้น
  • การตรวจทวารหนัก (rectal examination) เพื่อตรวจดูลักษณะผิวหนังรอบๆ ทวารหนักว่ามีการอักเสบหรือมีแผลหรือไม่ รวมถึงสังเกตความผิดปกติอื่นๆ เช่น ริดสีดวงหรือการมีทวารหนักยื่น เป็นต้น นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจโดยใช้นิ้วมือสอดเข้าไปภายในทวารหนักเพื่อตรวจดูว่ามีก้อนเนื้องอกภายในทวารหนักหรือไม่ และประเมินการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
    • การตรวจเลือด ในผู้ป่วยที่แพทย์สงสัยว่าจะเป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำหรือแคลเซียมในเลือดสูง แพทย์อาจสั่งตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์หรือระดับแคลเซียมในเลือด
    • การส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) หากผู้ป่วยมีลักษณะเตือน เช่น ซีด น้ำหนักลด ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์อาจทำการส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่เพื่อให้แน่ใจว่าอาการท้องผูกที่เป็นอยู่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากมะเร็งลำไส้ใหญ่
    • การตรวจการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่และการทำงานของทวารหนัก ได้แก่
      • การตรวจดูการเคลื่อนผ่านของอุจจาระภายในลำไส้ใหญ่ (colon transit test)
      • การตรวจดูการทำงานของทวารหนักและกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่าย (anorectal manometry) เป็นการตรวจโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า manometry ตรวจวัดแรงบีบและคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก รวมทั้งแรงดันภายในทวารหนักที่เกิดจากแรงเบ่ง และการคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูดขณะเบ่งถ่าย
      • การทดสอบการเบ่งลูกโป่ง (balloon expulsion test)
ผู้ป่วยท้องผูกที่ต้องเบ่งอุจจาระแรงๆ และบ่อยๆ เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการหย่อนยานของกล้ามเนื้อของอุ้งเชิงกราน (excessive pelvic floor descent) ถ้ามีการหย่อนยานมากๆ อาจทำให้เกิดการดึงรั้งของเส้นประสาทที่ควบคุมการบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักและเส้นประสาทที่รับความรู้สึกบริเวณทวารหนักและผิวหนังรอบๆ ทำให้เกิดอาการกลั้นอุจจาระไม่ได้ หรือมีการปลิ้นของลำไส้ใหญ่ (prolapse rectal) ตามมาภายหลัง ในผู้ป่วยบางรายอาจทำให้เกิดแผลขนาดใหญ่ภายในทวารหนัก (solitary rectal ulcer syndrome)
 
  • ให้การรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดท้องผูก หากผู้ป่วยมีอาการท้องผูกเนื่องจากโรคทางกาย แพทย์จะให้การรักษาตามสาเหตุ เช่น ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ หรือการให้ฮอร์โมนทดแทนในกรณีที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย เป็นต้น
  • ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลาและตอบสนองต่อความรู้สึกอยากถ่าย โดยทั่วไปความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระมักเกิดหลังจากผู้ป่วยตื่นนอนในตอนเช้าและช่วงเวลาหลังอาหารเช้า ในทางปฏิบัติหลังตื่นนอนตอนเช้าเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการถ่ายอุจจาระ ผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกควรตื่นแต่เช้าเพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการดื่มน้ำและรับประทานอาหารเช้า เพื่อกระตุ้นให้เกิดความอยากถ่ายและมีเวลาเดินเพื่อกระตุ้นความรู้สึกอยากถ่ายโดยไม่รีบเร่ง ผู้ป่วยไม่ควรกลั้นอุจจาระเมื่อมีความรู้สึกอยากถ่าย เนื่องจากความรู้สึกนี้จะอยู่กับเราในระยะเวลาสั้นๆและจะหายไป ทำให้เกิดปัญหาการถ่ายลำบากเนื่องจากอุจจาระที่ค้างในลำไส้นานๆ จะใหญ่และแข็ง ส่งผลให้อาการท้องผูกเป็นมากยิ่งขึ้น
  • การรับประทานอาหารที่มีกากใย ในผู้ที่มีอาการท้องผูกไม่รุนแรง การรับประทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้นจะช่วยทำให้ปริมาณอุจจาระมากขึ้นและเคลื่อนตัวภายในลำไส้ใหญ่เร็วขึ้น แต่สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกรุนแรง การเพิ่มปริมาณกากอาหารหรือไฟเบอร์ในอาหารที่รับประทานอาจทำให้มีอาการท้องอืดและถ่ายอุจจาระลำบาก เนื่องจากอุจจาระแข็ง
  • การดื่มน้ำ การขาดน้ำจะทำให้ลำไส้ใหญ่ดูดน้ำกลับมากขึ้น ทำให้อุจจาระมีก้อนแข็งมากและถ่ายลำบาก ดังนั้นการดื่มน้ำมากขึ้นจะทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มถ่ายได้ง่ายขึ้น
  • การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหว การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวเป็นประจำทุกวันจะทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ดีขึ้น ทำให้ถ่ายได้บ่อยขึ้น ผู้ที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวร่างกายอาจเกิดอาการท้องผูกได้ง่าย
  • การใช้ยาระบาย ยาระบายมีมากมายหลายชนิดซึ่งมีการออกฤทธิ์แตกต่างกัน เช่น ยาระบายที่ออกฤทธิ์โดยการทำให้ปริมาณอุจจาระมากขึ้น ยาที่ออกฤทธิ์โดยการดูดน้ำกลับเข้ามาในลำไส้มากขึ้น ยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ยาระบายชนิดสวน เป็นต้น ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา
  • การฝึกการขับถ่าย (biofeedback training) เป็นวิธีการที่จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักเทคนิคในการถ่ายที่ถูกวิธีโดยใช้เครื่องมือที่แสดงถึงการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่าย (biofeedback)
  • การตัดลำไส้ออก อาจใช้ในกรณีของผู้ป่วยที่ท้องผูกจากลำไส้เคลื่อนไหวช้าและรับประทานยาแล้วยังไม่ได้ผล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
  • การรักษาอื่นๆ เช่น การฉีดยา botulinum toxin ที่กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักในผู้ที่ฝึกเบ่งแล้วไม่ได้ผล หรือการผ่าตัดเปิดลำไส้ที่ผนังหน้าท้องแทนการถ่ายทางทวารหนัก
แก้ไขล่าสุด: 13 ตุลาคม 2567

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคลำไส้ใหญ่ และทวารหนักครบวงจร

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 2.73 of 10, จากจำนวนคนโหวต 11 คน

Related Health Blogs