bih.button.backtotop.text

การปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อ


 

การปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อกับบำรุงราษฎร์

การปลูกถ่ายอวัยวะ คือ การนำอวัยวะที่ยังดีอยู่จากผู้บริจาคมาเปลี่ยนให้กับผู้ป่วยที่อวัยวะเดิมทำงานล้มเหลวหรือเสียหายจากโรคหรืออุบัติเหตุที่ไม่สามารถรักษาให้หายด้วยวิธีอื่นหรือรักษาแล้วไม่ได้ผล

การปลูกถ่ายอวัยวะเป็นโอกาสครั้งที่สองในการมีชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคในขั้นสุดท้าย  ซึ่งนอกจากช่วยต่อชีวิตของผู้ป่วยให้ยืนยาวขึ้น ยังช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตด้วยอวัยวะใหม่ที่สมบูรณ์แข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลระยะยาว

บำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่สามารถปลูกถ่ายอวัยวะได้ครบทั้ง 3 อวัยวะ และ 1 เนื้อเยื่อ คือ“หัวใจ ตับ ไต และกระจกตา” ด้วยความพร้อมและการทำงานร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางสาขาต่างๆที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการปลูกถ่ายอวัยวะมานานกว่า 37 ปี  โดยมีอัตราความสำเร็จในการปลูกถ่ายอวัยวะสูงเทียบเท่ามาตรฐานสากล

การปลูกถ่ายอวัยวะมีแหล่งของอวัยวะที่นำมาปลูกถ่าย 2 แหล่ง คือ

1.อวัยวะจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตจากสมองตาย โดยผ่านศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
2.ญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือสามีภรรยา

 

สำหรับชาวไทยต้องดำเนินการดังนี้

ลงทะเบียนรับบริจาคอวัยวะ

จากศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

รับบริจาคอวัยวะจากผู้บริจาคที่มีชีวิต

1. ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจประเมินความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจก่อนได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ

1. ผู้บริจาคจะต้องมีความสัมพันธ์กับผู้รับบริจาคข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

•มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด ได้แก่ บิดาหรือมารดา บุตร พี่น้องที่เกิดจากบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้องต่างบิดาหรือมารดา ลุง ป้า น้า อา หลาน หรือลูกพี่ลูกน้อง (พิสูจน์ได้โดยหลักฐานทางกฎหมายและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้วยวิธี human leucocyte antigen (HLA) และ/หรือ DNA)

•คู่สมรส ซึ่งเป็นภรรยาหรือสามีที่ถูกต้องตามกฎหมายกับผู้รับบริจาค และจดทะเบียนสมรสกันมาไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือมีข้อเท็จจริงว่าอยู่กินฉันสามีภรรยาอย่างเปิดเผยจนถึงวันผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือหากมีบุตรร่วมกัน ระยะเวลาการสมรส 3 ปี นั้นสามารถยกเว้นได้โดยอาจใช้การตรวจ DNA ยืนยันการเป็นบุตรของคู่สมรส

2. ผู้ป่วยดูแลตนเองในระหว่างรอรับอวัยวะบริจาคเพื่อให้พร้อมต่อการปลูกถ่ายอวัยวะ หากผู้ป่วยรักษาตัวประจำอยู่ที่โรงพยาบาลอื่น ให้นำผลการตรวจรักษาและผลการตรวจต่างๆ ที่มีมาในวันที่พบแพทย์และแจ้งการเปลี่ยนแปลงเรื่องอาการและการรักษาให้แพทย์ทราบ

2. ผู้ป่วยจะได้รับตรวจประเมินความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจก่อนรับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ ทั้งนี้ผู้ป่วยและผู้บริจาคต้องมีเอกสารรับรองความสัมพันธ์โดยผ่านการพิจารณาจากแพทย์นิติเวชและต้องได้รับความยินยอมจากคณะอนุกรรมการปลูกถ่ายอวัยวะของโรงพยาบาลว่าสามารถเข้าสู่กระบวนการปลูกถ่ายอวัยวะแบบผู้บริจาคที่มีชีวิตได้



สำหรับชาวต่างชาติต้องดำเนินการดังนี้

Icon-Treatment_5-G.png

เอกสารการยืนยันความสัมพันธ์ทางสายเลือด โดยผู้บริจาคต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือด หรือมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม ที่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น HLA หรือ DNA และความเป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายอย่างน้อยสามปี หรืออยู่กินฉันสามีภรรยาโดยเปิดเผยกับผู้รับอวัยวะมาแล้วอย่างน้อยสามปี กรณีที่มีบุตรร่วมกันโดยสายโลหิตไม่ต้องใช้ระยะเวลา 3 ปี หากมีปัญหาในการพิสูจน์บุตรร่วมกันให้ใช้ HLA หรือ DNA เป็นเครื่องพิสูจน์ หรือ ให้ได้รับการรับรองจากสถานทูตหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการของบุคคลในสัญชาติของผู้บริจาค

Icon-Treatment_6-G.png

ต้องมีการพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้วยวิธี HLA หรือ DNA หรือวิธีอื่นๆ ที่สามารถพิสูจน์ได้ ที่มีความน่าเชื่อถือใกล้เคียงกัน จากสถาบันทางการแพทย์ของรัฐในประเทศไทย

การบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อได้มาจากผู้บริจาค 2 กลุ่ม คือ

 
Icon-Treatment_7-G.png

กลุ่มผู้บริจาคที่มีชีวิต

อวัยวะที่สามารถบริจาคได้คือไตและตับ

Icon-Treatment_8-G.png

กลุ่มผู้บริจาคสมองตาย

อวัยวะที่สามารถบริจาคให้แก่ผู้อื่นได้ ได้แก่ หัวใจ ปอด ตับ ไต ตับอ่อน และเนื้อเยื่อที่สามารถนำไปปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยที่รอรับบริจาคได้ได้แก่ กระจกตา ผิวหนัง กระดูก

 

การบริจาคอวัยวะและเนื้อเยื่อ

ผู้บริจาคสามารถกระทำได้ตั้งแต่ยังมีชีวิต โดยการแสดงความจำนงการบริจาคอวัยวะกับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย หรือการรับบริจาคอวัยวะจากญาติ ซึ่งต้องเป็นญาติใกล้ชิดเรียงตามลำดับการบริจาค ดังนี้
 

Icon-Treatment_1-cl.png Icon-Treatment_2-cl.png Icon-Treatment_3-cl.png

คู่สมรส หรือบุตรธิดาที่บรรลุนิติภาวะ

 หรือบิดา มารดา

พี่น้อง

ญาติ(ลุง ป้า นา อา หลาน) ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว



ผู้บริจาคอวัยวะควรมีคุณสมบัติดังนี้

 
Icon-Treatment_9.png

บริจาคหัวใจ

มีอายุไม่เกิน 50 ปี

Icon-Treatment_3-G.png

บริจาคตับ


 

มีอายุไม่เกิน 65 ปี (ถ้ามีความจำเป็นอาจใช้ได้ถึงอายุ75 ปี)

Icon-Treatment_2-G.png

บริจาคไต

มีอายุไม่เกิน 70 ปี

Icon-Treatment_4-G.png

บริจาคดวงตา

มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป

Icon-Treatment_7-G.png

ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต หรือโรคตับ

Icon-Treatment_3-cl.png

การทำงานของอวัยวะที่จะบริจาคอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงปกติ

Icon-Treatment_7-G-(1).png

ไม่มีโรคติดเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกอวัยวะ เช่น ไวรัสเอดส์ ไวรัสตับอักเสบ

Icon-Treatment_7-G-(2).png

ไม่เป็นโรคมะเร็ง

Icon-Treatment_8-G.png

กรณีผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย จะต้องได้รับการวินิจฉัยว่าเกิดภาวะก้านสมองตายอย่างแน่ชัดตามเกณฑ์สากล


เอกสารสำคัญสำหรับประกอบการบริจาคอวัยวะ

Icon-Treatment_5-G.png Icon-Treatment_5-G.png Icon-Treatment_5-G.png

แบบบันทึกการตรวจวินิจฉัยสมองตาย

(Brain Death Declaration Form)

หนังสือแสดงความยินยอมบริจาคอวัยวะ (ญาติเป็นผู้บริจาค)

กรณีผู้ป่วยมีคดีต้องแจ้งแพทย์นิติเวช

ความสำเร็จของการปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความพร้อมความชำนาญของแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื้อ ความพร้อมของอวัยวะและเนื้อเยื่อ การเข้ากันของหมู่เลือดและเนื้อเยื่อของผู้ให้และผู้รับอวัยวะ

  • การดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังการปลูกถ่ายอวัยวะและเนื้อเยื่อแบบเฉพาะบุคคลอย่างครบองค์รวม ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
  • ทีมพยาบาลผู้ประสานงานการปลูกถ่ายอวัยวะ (Transplant Coordinator) ที่ผู้ป่วยสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มความสะดวกและช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที
  • ทีมพยาบาลที่พร้อมให้คำปรึกษาผู้ป่วยหลังจากปลูกถ่ายอวัยวะตลอด 24 ชั่วโมง
  • ทีมแพทย์ผ่าตัดที่มีความพร้อมในการเดินทางไปผ่าตัดอวัยวะที่ได้รับบริจาคจากสถานที่ต่างๆนอกโรงพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้สามารถปลูกถ่ายอวัยวะให้ผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วหลังจากอวัยวะบริจาคมาถึงโรงพยาบาล
  • ทีมแพทย์และพยาบาลที่มีความชำนาญเฉพาะทางและมีประสบการณ์ในการผ่าตัดกรณีที่ซับซ้อน เช่น ผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะมาแล้วหลายครั้ง ผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคอื่นร่วมด้วย
  • ทีมแพทย์และพยาบาลที่พร้อมในการดูแลผู้ป่วยในกรณีที่มีอาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น การติดเชื้อและการต่อต้านเนื้อเยื่อหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ
  • ทีมแพทย์เฉพาะทางที่ร่วมดูแลผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน
  • เทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย

บำรุงราษฎร์มีความพร้อมในการปลูกถ่าย “หัวใจ ไต ตับ กระจกตา” เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยที่รอเปลี่ยนอวัยวะได้เร็วขึ้น

  • ทีมศัลยแพทย์เฉพาะทางผ่าตัดนำอวัยวะ “หัวใจ ไต ตับ กระจกตา” ออก (harvesting team) จากผู้บริจาค
  • ทีมศัลยแพทย์เฉพาะทางปลูกถ่ายอวัยวะ (transplant team)
  • ทีมสหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักโภชนากรและทีมผู้ชำนาญทางห้องปฏิบัติการในการตรวจหาระดับยากดภูมิต้านทานหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ
  • การจัดเก็บอวัยวะด้วยมาตรฐานสากล
  • อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พร้อมและทันสมัย
  • สถานที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยระดับสูง

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์โรคไต

ดูเพิ่มเติม

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs