bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้วิธีส่องกล้อง

การผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้วิธีส่องกล้อง (Transurethral Resection of the Prostate: TURP) เป็นการนำเอาบางส่วนของต่อมลูกหมากหรือทั้งหมดออกมา วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้กันมากในการรักษาภาวะต่อมลูกหมากโต

ขั้นตอนการรักษา
ผู้ป่วยจะได้รับยาสลบหรือยาชาเฉพาะที่ โดยแพทย์จะใส่กล้องขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายท่อเล็กๆ เรียกว่า resectoscope เข้าไปทางอวัยวะเพศ ผ่านท่อปัสสาวะ และขึ้นไปยังต่อมลูกหมาก จากนั้นแพทย์จะใช้ห่วงไฟฟ้าที่ปลายกล้องตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่มีการอุดตันออกมา จากนั้นจึงปิดเส้นเลือดกลับดังเดิม และล้างทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวเพื่อล้างเอาเนื้อเยื่อออกให้หมด
 
การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ใช้เวลาประมาณ 90 นาที หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 3 วัน และจะต้องใส่สายสวนปัสสาวะไว้
แพทย์จะแนะนำการผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยใช้วิธีส่องกล้องให้กับผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนจากภาวะต่อมลูกหมากโต เช่น
  • ไม่สามารถปัสสาวะได้
  • มีเลือดออกจากท่อปัสสาวะ
  • ไตได้รับความเสียหายเนื่องจากมีปัสสาวะไหลย้อนกลับ
  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

การผ่าตัดด้วยวิธีนี้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาสลบ เช่น ระบบการหายใจและระบบหัวใจทำงานผิดปกติ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น

  • มีเลือดออกและจำเป็นต้องได้รับเลือดทดแทน
  • การติดเชื้อ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ และในบางกรณีอาจต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
  • ความไม่สมดุลของของเหลวและอิเล็กโทรไลต์ระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด หากมีระดับรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะโคมาได้
  • ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้และท่อปัสสาวะตีบ
  • มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  • มีบุตรยาก
  • อสุจิไหลย้อนกลับเข้ากระเพาะปัสสาวะ
  • หูรูดกระเพาะปัสสาวะไม่ยืดหยุ่นและแคบลง ทำให้ปัสสาวะลำบาก

 
ดังนั้น ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด

ในบางครั้งแพทย์อาจอธิบายถึงแนวทางการรักษาอื่นๆ เช่น
  • การใช้ยาเพื่อช่วยให้การขับถ่ายปัสสาวะดีขึ้นหรือช่วยให้ต่อมลูกหมากมีขนาดเล็กลง
  • การใช้ท่อสั้นๆ (stent) สอดเข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อช่วยให้ปัสสาวะไหลออกได้ดีขึ้น
  • การใช้ความร้อนจากคลื่นไมโครเวฟ เลเซอร์ หรือกระแสไฟฟ้า เพื่อตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่โต
 
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายที่อาการไม่ได้รบกวนชีวิตประจำวันมากเกินไป อาจเลือกที่จะไม่รับการรักษา เนื่องจากในบางครั้งอาการของโรคนี้สามารถดีขึ้นได้เองโดยไม่ต้องรักษา
ผู้ที่สมควรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้คือ ผู้ป่วยชายที่มีอาการตั้งแต่ปานกลางถึงรุนแรง โดยเกิดจากต่อมลูกหมากโตและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจร่างกายและพิจารณาถึงความเหมาะสมของการเข้ารับการผ่าตัดในผู้ป่วยแต่ละราย

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.56 of 10, จากจำนวนคนโหวต 99 คน

Related Health Blogs