bih.button.backtotop.text

โรคความผิดปกติของการทำงานของระบบทางเดินอาหาร

โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร อาจเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีเนื้องอก มีการอักเสบ มีแผล หรือเกิดจากความผิดปกติของการทำงานของทางเดินอาหาร หรือเรียกกันว่า Functional GI Disorders

Overview

Functional GI Disorders เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติในปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมองและทางเดินอาหาร (Disorders of gut-brain interaction) ซึ่งแบ่งตามกลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหารส่วนต่างๆ สาเหตุของความผิดปกติอาจเกิดได้จาก

  • การเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารผิดปกติ (Motility Disorder)
  • อวัยวะในช่องท้องรับความรู้สึกไวเกินไป (Visceral Hypersensitivity)
  • การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุลำไส้และการตอบสนองของภูมิต้านทานของลำไส้ผิดปกติ (Altered Mucosal and Immune Function)
  • การเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้ (Altered Gut Microbiota)
  • การเปลี่ยนแปลงของการรับรู้และการแปรผลของระบบประสาทส่วนกลาง (Altered Central Nervous System (CNS) Processing)


กลุ่มอาการเหล่านี้อาจเกิดได้จากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ส่วนต่างๆได้ทุกส่วนรวมถึงถุงน้ำดี อาทิเช่น โรคกรดไหลย้อน โรคหลอดอาหารอะคาเลเซีย ภาวะการกลืนผิดปกติ ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้า ปวดท้องโดยไม่รู้สาเหตุ โรคลำไส้แปรปรวน โรคท้องผูกเรื้อรัง

อาการที่มักพบได้บ่อย เช่น การปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการแสบร้อนที่หน้าอกหรือลิ้นปี่ ขย้อนอาหาร แน่นหรือเจ็บหน้าอกหรืออาจมีอาการไอเรื้อรัง หอบหืดเรื้อรัง ร่วมด้วย ท้องอืด กลืนอาหารจุกที่คอ ท้องผูก ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
สาเหตุของการเกิดโรคเหล่านี้ยังไม่ทราบแน่ชัด มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาวะจิตใจ เช่น ความเครียด หรือการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม เช่น ขาดการออกกำลัง กินอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป กินอาหารไม่เป็นเวลา การใช้ชีวิตที่เร่งรีบเกินไป

การวินิจฉัยโรคเหล่านี้มักต้องอาศัยทีมงานอันประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาและพยาบาลที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินอาหารเป็นอย่างดี เนื่องจากผู้ป่วยมักมีแต่อาการเท่านั้นแต่ตรวจไม่พบความผิดปกติที่ชัดเจน นอกจากนี้อาการของโรคยังคาบเกี่ยวกัน เช่น ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนอาจมีอาการท้องอืด หรือท้องผูกร่วมด้วย ทำให้วินิจฉัยได้ยาก แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยอาศัยเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานสากลเรียกว่า Rome criteria และแพทย์จะปรึกษาร่วมกันเพื่อตัดสินใจว่าจะใช้เครื่องมือใดในการวินิจฉัยร่วมด้วย

 

 
  • เครื่องมือในการวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง
    • การตรวจวัดการทำงานของลำไส้ใหญ่และหูรูดทวารหนักชนิดความละเอียดสูง (High-Resolution Anorectal Manometry) 
    • การฝึกขับถ่ายให้เป็นธรรมชาติ ( Biofeedback Training ) 
    • การตรวจดูการเคลื่อนผ่านของอุจจาระภายในลำไส้ใหญ่ ( Colonic Transit Time ) 
    • การตรวจการเบ่งถ่ายด้วยเครื่อง MRI (MRI Defecography) 
แก้ไขล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2565

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 8.20 of 10, จากจำนวนคนโหวต 10 คน

Related Health Blogs