bih.button.backtotop.text

โรคของต่อมไทรอยด์

โรคทางต่อมไทรอยด์แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเกิดจากความผิดปกติของการทำงานของต่อมไทรอยด์ ได้แก่ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) และภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) กลุ่มที่สองคือโรคก้อนของต่อมไทรอยด์ (Nodular thyroid diseases)

ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism)

สัญญาณเตือนที่อาจเกิดขึ้น

  • ต่อมไทรอยด์โต
  • บวมบริเวณใบหน้าหรือแขนขา
  • ความดันโลหิตสูงชนิดไดแอสโตลิก (ค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว)


อาการ

  • อ่อนเพลียมาก
  • เหนื่อยง่าย
  • เซื่องซึม ง่วงนอน
  • คิดช้า พูดช้า
  • ความจำลดลง
  • น้ำหนักขึ้น อ้วนขึ้นผิดปกติ
  • ทนต่ออากาศเย็นได้น้อยลง
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเป็นตะคริว
  • ผิวแห้งหยาบ ผมและเล็บเปราะ
  • ใบหน้าบวม หนังตาบวม
  • ประจำเดือนมามากผิดปกติหรือไม่สม่ำเสมอ
  • การตกไข่ผิดปกติ มีบุตรยาก เพิ่มโอกาสในการแท้งบุตร
  • ระดับไขมันในเลือดสูง
  • ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
  • ตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์ TSH (Thyroid Stimulating Hormone), Free T3  (T3) และ FreeT4 (T4) ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 2 ชั่วโมง
  • ตรวจเลือดเพื่อดูระดับภูมิคุ้มกัน (Thyroid antibodies) โดยดูจาก Anti-TPO (Anti-Thyroid peroxidase) และ Anti Tg (Anti-thyroglobulin antibodies) ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 2 ชั่วโมง
  • ทำอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) ในกรณีที่ต่อมไทรอยด์มีก้อนโต
รักษาโดยการใช้ยา Levothyroxine เพื่อทดแทนฮอร์โมนไทรอยด์ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้อย่างเพียงพอ

ผลลัพธ์ในการรักษา
ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์เป็นภาวะที่เรื้อรัง ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องรับประทานยาต่อเนื่องไปตลอด เมื่อระดับฮอร์โมนไทรอยด์เป็นปกติ อาการต่างๆจึงหายไปจนเป็นปกติ

ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism)

หากไม่รักษาหรือมีอาการรุนแรง จะทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินเรียกว่า Myxedema coma คือระบบการทำงานของร่างกายหลายส่วนล้มเหลว เช่น

  • ระบบสมองทำให้มีอาการสับสน ซึม ไม่รู้สึกตัว ชักหรือโคม่า
  • ระบบทางเดินหายใจทำให้การหายใจช้าลง ค่าออกซิเจนต่ำ มีน้ำในเยื่อหุ้มปอด ทำให้การหายใจล้มเหลว
  • ระบบไต ระบบเกลือแร่ผิดปกติ เกิดภาวะไตวายได้
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นช้ามาก คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ระบบทางเดินอาหาร อาจมีท้องผูกรุนแรง ลำไส้ไม่ทำงาน
ผู้ป่วยมีอัตราการตายสูงถึง 30-50% มักเป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวหลายอย่าง

สัญญาณเตือนที่อาจเกิดขึ้น

  • อาการตาโปน ตาโตจ้อง
  • เปลือกตาเลิก หนังตาบวมหรือตาแดง
  • บางครั้งอาจเห็นภาพซ้อน
  • อาจมีก้อนไทรอยด์โต
  • ชีพจรเร็ว หัวใจอาจเต้นผิดจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ
  • ผิวเรียบชื้น
  • เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุน


อาการ

  • ชีพจรเต้นเร็วแรง ทำให้เหนื่อย หายใจเร็ว
  • หงุดหงิด กระสับกระส่าย
  • น้ำหนักลด
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง มือสั่น
  • ผมร่วง
  • อุจจาระเหลวบ่อย
  • ประจำเดือนผิดปกติ
  • มีโอกาสแท้งบุตรสูงขึ้น
  • ตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์ TSH (Thyroid Stimulating Hormone), Free T3  (T3) และ FreeT4 (T4)
  • ตรวจเลือดเพื่อดูระดับภูมิคุ้มกัน (Thyroid antibodies) โดยดูจาก Anti-TPO (Anti-Thyroid peroxidase) และ Anti-Tg (Anti-thyroglobulin)  รวมถึง TSH receptor antibody (TRAb) ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่มากระตุ้นให้ไทรอยด์ขยันทำงานผิดปกติ
  • ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยมีการอักเสบของต่อมไทรอยด์ แพทย์จะทำการตรวจ  Radioactive Iodine Uptake (RAIU) คือการให้สารรังสีไอโอดีนเพื่อวินิจฉัยให้แน่ชัดว่าผู้ป่วยมีภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบหรือเป็นโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โดยหากไทรอยด์เก็บไอโอดีนเข้าไปมาก แสดงว่าไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติหรือเป็นโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ แต่หากไทรอยด์ไม่เก็บหรือเก็บไอโอดีนเข้าไปน้อยมาก แสดงว่าเป็นภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบ
  • หากคนไข้มีก้อนโตที่คอ แพทย์จะส่งตรวจเพิ่มเติมดังนี้
    • ทำ Thyroid scintigraphy หรือ Thyroid scan เพื่อประเมินว่าก้อนเนื้อไทรอยด์นั้น ทำงานเป็นปกติหรือเป็นก้อนไทรอยด์เป็นพิษ
    • ทำอัลตร้าซาวด์ (Thyroid Ultrasound)

สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ

  • การรับประทานยา Anti-thyroid medicine ซึ่งมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ Methimazole กับ Propylthiouracil (PTU)
  • Radioactive iodine therapy หรือการให้รังสีไอโอดีน 131 (I-131)
  • Thyroidectomy หรือการผ่าตัดไทรอยด์ ทำได้ 2 วิธีคือ
    • การผ่าตัดเปิด (Open surgery)
    • การส่องกล้องผ่าตัด (Endoscopic surgery)
  • ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคตาโปน ตาเหล่หรือเห็นภาพซ้อนเนื่องจากไทรอยด์เป็นพิษ จักษุแพทย์สามารถทำการผ่าตัดรักษาทั้งหมด 3 ขั้นตอน ดังนี้
    • ผ่าตัดขยายเบ้าตาออก (Orbital decompression) เพื่อไม่ให้ตาบอดจากความดันในเบ้าตาสูง
    • ผ่าตัดกล้ามเนื้อตา สำหรับผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาตหรือกล้ามเนื้อตาทำงานไม่ประสานกัน ทำให้ตาเหล่ หรือมองเห็นภาพซ้อน
    • ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติภายนอก หรือแก้ไขเปลือกตาที่มีลักษณะเลิกหรือตาจ้องมากเกินไป ให้เปลือกตาลงมาเป็นปกติ

โดยทั่วไปแพทย์จะรักษาด้วยยาก่อน แต่หากผู้ป่วยได้รับยาแล้วไม่หายหรือว่ามีอาการแพ้ยา แพทย์อาจใช้รังสีไอโอดีน สำหรับการผ่าตัดมักทำในกรณีที่คนไข้มีก้อนในต่อมไทรอยด์ซึ่งสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งและมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษร่วมด้วย

ผลลัพธ์ในการรักษา

  • อาจหายเป็นปกติได้ แต่ต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่องประมาณปีครึ่งถึงสองปี ผู้ป่วยประมาณ 30-40% จะกลับมาเป็นโรคได้อีก ผู้ป่วยที่กลับมาเป็นซ้ำ มักเป็นคนที่มีอาการรุนแรง ฮอร์โมนสูงมาก ไทรอยด์มีขนาดใหญ่ หรือผู้ป่วยที่สูบบุหรี่
  • หากรักษาด้วยรังสีไอโอดีน ผู้ป่วยจะมีขนาดต่อมไทรอยด์เล็กลง เนื่องจากรังสีช่วยทำลายไทรอยด์ที่ใหญ่ผิดปกติและทำให้ระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์เป็นปกติ แต่หลังจากการรักษาอาจทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำอย่างถาวร ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยา Thyroxine ไปตลอด การรักษาด้วยรังสีไอโอดีนมักไม่ทำในผู้ป่วยที่มีภาวะตาโปนมาก เนื่องจากอาจทำให้ตาโปนอักเสบมากขึ้น
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด หลังการผ่าตัดผู้ป่วยต้องรับประทานยา Thyroxine ไปตลอด
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism)

ภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่รุนแรงเรียกว่า Thyroid storm ทำให้อวัยวะหลายส่วนทำงานล้มเหลว มีไข้ ชีพจรเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะไม่สม่ำเสมอ หัวใจล้มเหลว กระสับกระส่าย สับสน โคม่า ตัวเหลือง ตับโต อัตราการตายประมาณ 20-30%

อาการ

  • ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการใดๆ แต่ในบางรายอาจมีอาการดังต่อไปนี้ได้ เช่น
  • สังเกตเห็นต่อมไทรอยด์โตผิดปกติ
  • เสียงแหบ กลืนลำบาก ซึ่งอาจพบได้ในกรณีที่เป็นมะเร็งไทรอยด์ลุกลามเข้าไปตรงเส้นประสาทที่ควบคุมเส้นเสียงหรือหลอดอาหาร
  • ไอเรื้อรัง
  • รู้สึกแน่นบริเวณลำคอ
  • อาจมีอาการของภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism)
  • การทำอัลตร้าซาวด์ที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Ultrasound)
  • การสแกนต่อมไทรอยด์ (Thyroid scan) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีก้อนและมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
  • Fine needle aspiration (FNA) ในกรณีตรวจอัลตร้าซาวน์แล้วและสงสัยว่าเป็นก้อนมะเร็ง แพทย์ด้านโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสมหรือรังสีแพทย์ เป็นผู้ทำการตรวจ FNA ซึ่งเป็นการเป็นการตรวจตัวอย่างเซลล์ของไทรอยด์ ใช้เข็มเล็กๆเข้าไปดูดเซลล์จากตัวก้อนไทรอยด์แล้วส่งให้พยาธิแพทย์ตรวจดูเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์เพื่อหาความผิดปกติของเซลล์หรือกลุ่มเซลล์ ทำได้โดยการฉีดยาชาที่ผิวหนังก่อนก็จะใช้อัลตร้าซาวด์ช่วยในการระบุตำแหน่งของก้อนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยทั่วไปใช้เวลาทำไม่เกิน 30 นาทีและไม่มีแผล ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย โดยพยาธิแพทย์เป็นผู้อ่านและแปลผล ใช้เวลาไม่เกิน 2-3 วัน
  • Cervical lymph node mapping ultrasound คือการทำแผนที่บริเวณต่างๆของต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโดยละเอียดทั้งหมด เพื่อดูว่ามะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใดบ้าง ใช้ตรวจในกรณีที่ผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลืองโต และแพทย์สงสัยว่ามะเร็งจากต่อมไทรอยด์กระจายไป และอาจเป็นการตรวจเพิ่มเติมหลังการตรวจ FNA แล้วได้ผลยืนยันว่าเป็นเซลล์มะเร็งและคนไข้จะต้องได้รับการผ่าตัด เป็นการช่วยในการวางแผนผ่าตัดต่อมไทรอยด์และต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)  หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ในกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่มากจนแพทย์สงสัยว่าก้อนกดเบียดอวัยวะอื่นข้างเคียงที่อยู่ในบริเวณลำคอหรือช่องอก
  • การผ่าตัดมะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroidectomy)
    • การผ่าตัดเปิด (Open surgery)
    • การส่องกล้องผ่าตัด (Endoscopic surgery) โดยสามารถผ่าตัดเข้าทางรักแร้ (Transaxillary thyroidectomy) หรือผ่าตัดจากด้านหลังของริมฝีปากล่าง (Transoral endoscopic thyroidectomy)
  • ก้อนที่ไม่ใช่มะเร็ง หากไม่มีอาการใดๆแพทย์อายุรกรรมโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสมจะติดตามอาการ โดยการตรวจเลือด ดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์และทำอัลตร้าซาวด์เป็นระยะ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการกดเบียดบริเวณลำคอ กลืนลำบาก หายใจลำบาก แน่นอึดอัดในลำคอ เสียงเปลี่ยน สามารถใช้วิธีการผ่าตัดเปิดหรือการส่องกล้องผ่าตัด แต่หากผู้ป่วยไม่ต้องการผ่าตัด อาจพิจารณารักษาด้วยวิธีอื่นๆ ได้เช่นกัน ดังนี้
    • High intensity Focus Ultrasound (HIFU) (0.8-3.5 MHz)  เป็นการรักษาที่ไม่รุกล้ำ (Non-invasive) ไม่ต้องใช้เข็มแทงเข้าไปในต่อมไทรอยด์ โดยการวางหัว probe บริเวณผิวหนังด้านนอกและปล่อยพลังงานเข้าไป พลังงานจะเข้าไปโฟกัสอยู่บริเวณก้อนทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อและเกิดความร้อน ช่วยทำลายตัวก้อนเนื้อให้เล็กลงได้
    • Thyroid Radiofrequency Ablation (RFA) เป็นการรักษาที่รุกล้ำน้อย (Minimally invasive) ด้วยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อลดขนาดของก้อนเนื้อ ทำได้โดยการใช้เข็มอิเล็กโทรด (electrode) สอดผ่านผิวหนังเข้าไปจิ้มที่ตัวก้อนเนื้อ แล้วจึงปล่อยคลื่นความถี่สูงเข้าไปในเข็ม ทำให้เกิดความร้อนขึ้นที่ปลายเข็มอิเลกโทรด ช่วยทำลายก้อนให้มีขนาดเล็กลง
    • Ethanol ablation คือ การฉีดแอลกอฮอล์เข้าไปในก้อนของต่อมไทรอยด์เพื่อลดขนาดของก้อน เหมาะสำหรับก้อนเนื้อที่ข้างในมีลักษณะเป็นของเหลว  (Predominantly cystic thyroid nodule) เป็นน้ำทั้งหมดหรือส่วนใหญ่เป็นน้ำ


ข้อดีของการรักษาด้วย 3 วิธีนี้คือ

  • ไม่ต้องดมยาสลบ ใช้แค่ยาชาเฉพาะที่
  • ไม่ใช้การผ่าตัด จึงไม่มีแผลเป็น ไม่ต้องนอนค้างคืนที่โรงพยาบาล
  • ไม่ต้องผ่าตัดต่อมไทรอยด์ที่ปกติออกไป จึงไม่มีความเสี่ยงในการขาดฮอร์โมนไทรอยด์หลังการผ่าตัด
โรคก้อนของต่อมไทรอยด์ (Nodular thyroid diseases)

โดยทั่วไปก้อนเนื้อต่อมไทรอยด์ มีโอกาสเป็นมะเร็ง 5-15% หากไม่ได้รักษา มะเร็งอาจลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ หลอดลม กล่องเสียง หลอดอาหารทำให้มีกลืนอาหารลำบาก เสียงแหบ สำลักอาหาร กลืนเจ็บหรือหายใจลำบาก  หรือกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ บางครั้งอาจกระจายไปในเลือดและกระจายไปในอวัยวะไกลๆได้เช่น ปอดและกระดูก
  • Thyroid ultrasound เป็นการใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ความถี่สูงเกินกว่าหูมนุษย์จะได้ยิน โดยการส่งคลื่นออกจากหัวตรวจไปยังต่อมไทรอยด์&nbs
    วัตถุประสงค์ เพื่อดูขนาดของต่อมไทรอยด์ ลักษณะเนื้อของต่อมไทรอยด์ ตรวจหาก้อนเนื้อ (Thyroid nodule) ถุงน้ำ (Cyst) สามารถแยกได้ว่าก้อนเนื้อมีลักษณะเป็นน้ำหรือเป็นเนื้อหรือผสมกัน นอกจากนี้ยังสามารถดูลักษณะหินปูน (Calcification) ในก้อนเนื้อ ช่วยในการประเมินว่าก้อนเนื้อมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากน้อยเพียงใดและยังช่วยประเมินต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ 
    เวลาที่ใช้การตรวจวินิจฉัย ใช้เวลาในการทำ 30 นาที ทราบผลในเวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง
  • Cervical lymph node mapping ultrasound เป็นการใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ตรวจดูต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอทั้งหมดโดยละเอียดทุกโซน โดยปกติต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอแยกออกเป็น 6 โซนในแต่ละข้าง (รวมทั้งหมด 12 โซนทั้ง 2 ข้าง) การตรวจเปรียบเสมือนการทำแผนที่ของต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอทั้งหมด จึงมีความละเอียดแม่นยำสูงมาก ทำโดยรังสีแพทย์ผู้ชำนาญการเป็นพิเศษ โดยบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่ทำ Cervical lymph node mapping ultrasound ในประเทศไทย 
    วัตถุประสงค์ การตรวจนี้ช่วยในการวางแผนผ่าตัดต่อมไทรอยด์และต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอเป็นอย่างมาก ทำให้ทีมแพทย์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ประสบความสำเร็จสูงในการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดมะเร็งไทรอยด์ เพราะช่วยให้แพทย์สามารถผ่าตัดก้อนเนื้องอกและต่อมน้ำเหลืองที่มีการกระจายของมะเร็งไทรอยด์ได้อย่างหมดจด ลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำและลดโอกาสในการต้องกลับมาผ่าตัดซ้ำได้สูงมาก 
    เวลาที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัย ใช้เวลาในการตรวจ 50 นาที ทราบผลได้ในเวลา 2-3 ชั่วโมง
  • Radioactive Iodine Uptake (RAIU) คือการตรวจความสามารถในการจับสารไอโอดีนของต่อมไทรอยด์ ช่วยบ่งชี้ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยแยกสาเหตุของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ 
    เวลาที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัย 2 วัน เนื่องจากมีการวัดค่าของปริมาณไอโอดีนที่เข้าไปในต่อมไทรอยด์ที่ 4 ชั่วโมงหลังให้ไอโอดีน และที่ 24 ชั่วโมงหลังให้ไอโอดีน โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แพทย์จะนัดผู้ป่วยกลับมาฟังผลตรวจในภายหลัง
  • Thyroid scintigraphy(Thyroid scan) เป็นการสแกนบริเวณต่อมไทรอยด์โดยใช้สาร technetium (Tc – 99 m ) ใช้ในการตรวจก้อนของต่อมไทรอยด์ในผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ช่วยแยกว่าก้อนเนื้อไทรอยด์ที่ตรวจพบทำงานมากผิดปกติหรือไม่ ทำโดยแพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • การตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานสากล ทำให้มีความแม่นยำสูง ได้แก่
    • การตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ได้แก่ TSH, FreeT4, FreeT3, Total T4, Total T3
    • การตรวจเพื่อดูระดับภูมิคุ้มกัน (Thyroid antibodies) ได้แก่  Anti-TPO (Anti-Thyroid peroxidase) และ Anti-Tg (Anti-thyroglobuli) และ Anti-TSH receptor (TRAb)
  • การตรวจอัลตร้าซาวด์
    • อัลตร้าซาวด์ต่อมไทรอยด์ (Thyroid ultrasound)
    • อัลตร้าซาวด์ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ (Cervical lymph node mapping ultrasound)
  • การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear medicine)
    • Radioactive Iodine Uptake (RAIU)
    • Thyroid scintigraphy (Thyroid scan)
  • การตรวจ Fine Needle Aspiration (FNA) ต้องทำการนัดหมายล่วงหน้า ซึ่งสามารถทำได้ในวันเดียวกับที่นัดหมายหรือในวันรุ่งขึ้น
  • การตรวจ พยาธิวิทยาทางเซลล์ (Cytopathology) ทำโดยพยาธิแพทย์ (Pathologist) ผู้ชำนาญการและมีประสบการณ์สูง ทำให้สามารถวินิจฉัยเซลล์จากก้อนเนื้อของต่อมไทรอยด์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

การรักษาโรคทางต่อมไทรอยด์ต้องอาศัยสหสาขาวิชาชีพผู้ชำนาญเฉพาะทางหลากหลายสาขา จึงจะดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เราเน้นการทำงานเป็นทีม ซึ่งทีมของเราประกอบด้วย

  • แพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางด้านโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม (Endocrinologist)
  • ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางด้านหู คอ จมูก (Otolaryngology; Ear, Nose, Throat)
  • ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญด้านการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (Endocrine & Head-Neck surgeon)
  • รังสีแพทย์ (Radiologist)
  • พยาธิแพทย์ (Pathologist)
  • แพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear medicine specialist)
  • แพทย์ผู้ชำนาญการด้านมะเร็ง (Oncologist)
  • จักษุแพทย์ (Ophthalmologist)
  • นักรังสีการแพทย์
  • นักโภชนากร (Dietitian)


โดยบทบาทของสหสาขาวิชาชีพแต่ละด้าน มีดังนี้

  • แพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางด้านโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม (Endocrinologist) เป็นหลักในการดูแลรักษาผู้ป่วยและประสานทีมสหสาขาวิชาชีพทั้งหมด ตั้งแต่การซักประวัติ ตรวจร่างกาย การวางแผนการวินิจฉัยและการรักษา รวมถึงติดตามผลการรักษาในระยะยาว
  • ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางด้านหู คอ จมูก (Otolaryngology; Ear, Nose, Throat) หรือศัลยแพทย์ผู้ชำนาญด้านการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (Endocrine & Head-Neck surgeon) เป็นผู้ทำการผ่าตัด โดยทั่วไปภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัดไทรอยด์ ได้แก่  เส้นประสาทควบคุมเส้นเสียงบริเวณกล่องเสียงที่อยู่ใกล้ต่อมไทรอยด์ด้านหลังเกิดการบาดเจ็บ ทำให้คนไข้เสียงแหบหรือเสียงไม่เหมือนเดิม หรือตัดต่อมพาราไทรอยด์ซึ่งเป็นตัวควบคุมระดับแคลเซียมของคนไข้ออกไปด้วย ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานแคลเซียมชดเชยไปตลอดชีวิต ซึ่งศัลยแพทย์ของเรามีประสบการณ์สูง ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดน้อยมาก และยังมีความชำนาญในการเลาะก้อนเนื้อโดยเฉพาะในรายที่มะเร็งได้กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง แพทย์สามารถผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองได้โดยลดโอกาสการบาดเจ็บของเส้นประสาทหรืออวัยวะตรงนั้นได้ดี
    ประสบการณ์ในการผ่าตัดร่วมกับเครื่องมือในการผ่าตัดทันสมัย ทำให้การผ่าตัดประสบความสำเร็จสูง ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดสั้นลงโดยใช้เวลาประมาณ  1 ชั่วโมงครึ่ง ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณคอการบาดเจ็บหรือบอบช้ำน้อย ฟื้นตัวไว ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้นเพียง 1-2 คืน ช่วยลดค่าใช้จ่าย
  • รังสีแพทย์ (Radiologist) มีความชำนาญในการตรวจและอ่านผลอัลตร้าซาวด์ (Diagnostic radiologist) รวมถึงเป็นผู้เจาะเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อจากไทรอยด์ (Interventional radiologist) นอกจากนี้ยังช่วยในการรักษาก้อนเนื้อโดยไม่ต้องผ่าตัด เช่น การทำ HIFU การทำ RFA หรือการทำ Ethanol ablation (Interventional radiologist)
  • พยาธิแพทย์ (Pathologist) ช่วยในการรายงานผลเซลล์ไทรอยด์จากก้อนที่ตรวจจากการทำ FNA โดยใช้รายงาน ที่เป็นมาตรฐานสากลเรียกว่า Bethesda system (ระบบที่ใช้รายงานเซลล์พยาธิวิทยาจากการทำ fine-needle aspiration biopsy ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ ที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก) ผลของรายงานแบ่งออกเป็น  6 category ซึ่งช่วยบ่งบอกโอกาสในการเป็นมะเร็ง ทำให้สามารถวางแผนการรักษาต่อไปได้ว่าต้องผ่าตัดเมื่อไร ต้องทำ FNA ซ้ำเมื่อไร นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แล้ว พยาธิแพทย์จะเป็นผู้ตรวจดูก้อนไทรอยด์ที่ผ่าตัดออกมา ว่าเป็นก้อนเนื้องอกธรรมดาหรือเป็นมะเร็งชนิดใด รวมทั้งตรวจดูต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอที่เลาะออกมา ว่าก้อนไหนบ้างที่ตรวจพบการกระจายของเซลล์มะเร็งไทรอยด์ ซึ่งการวินิจฉัยนี้ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์สูงเช่นกัน
  • แพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear medicine therapy) ช่วยในด้านการวินิจฉัยและรักษา ในการวินิจฉัยแพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์จะช่วยในการทำ Thyroid uptake และ Thyroid scan ในการรักษาแพทย์จะช่วยรักษาโดยการให้แร่รังสีไอโอดีน (Radioactive Iodine Therapy) ในผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์หลังการผ่าตัดที่บางรายเพื่อฆ่าเซลล์ไทรอยด์ที่หลงเหลือจากการผ่าตัดหรือเซลล์ไทรอยด์ที่กระจายไปบริเวณอื่นนอกเหนือจากตัวไทรอยด์ เพื่อลดโอกาสในการกลับมาเป็นซ้ำและช่วยในการรักษาเซลล์มะเร็งที่กระจายออกไปนอกตัวไทรอยด์ นอกจากนี้แพทย์ยังทำ Radioactive iodine whole body scan เพื่อประเมินว่ามะเร็งไทรอยด์ได้กระจายไปที่ใดบ้างในร่างกาย ทั้งนี้ Radioactive iodine นอกจากช่วยวินิจฉัยแล้วยังเป็นการรักษามะเร็งไทรอยด์ไปด้วยในตัว
  • แพทย์ผู้ชำนาญการด้านมะเร็ง (Oncologist) จะเข้ามามีส่วนร่วมในกรณีที่การรักษามะเร็งไทรอยด์ในข้างต้นไม่ได้ผล เช่น ผ่าตัดและรักษาด้วยไอโอดีนหลายครั้ง แต่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองหรือรักษาด้วยรังสีไอโอดีนจนถึงขนาดสูงสุดแต่ผู้ป่วยยังมีโรคมะเร็งไทรอยด์หลงเหลืออยู่ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านมะเร็งจะรักษาด้วยวิธีการรักษาโรคมะเร็งแบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง  (Targeted therapy) หรือเคมีบำบัด (Chemotherapy)
  • จักษุแพทย์ (Ophthalmologist) ช่วยในการรักษาภาวะตาโปนจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ตั้งแต่การขยายเบ้าตาออก (Orbital decompressionการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา สำหรับผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาตหรือกล้ามเนื้อตาทำงานไม่ประสานกันและการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติภายนอกหรือเปลือกตาที่มีลักษณะเลิกหรือตาจ้องมากเกินไป
  • นักโภชนาการ (Dietitian) ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยรังสีไอโอดีน (radioactive iodine) เช่น ผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ หลังการผ่าตัดไทรอยด์หรือผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนต่ำ (Low iodine diet) ทีมนักโภชนากรจะเป็นผู้ให้ความรู้ผู้ป่วยเพื่อให้เตรียมตัวก่อนการรักษาได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดี
  • ความครบถ้วนของทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางและมีประสบการณ์สูงในการรักษาโรคของต่อมไทรอยด์
  • การรักษาที่ได้มาตรฐาน มีทางเลือกในการรักษาทุกทางให้แก่ผู้ป่วย
  • เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย
แก้ไขล่าสุด: 24 มิถุนายน 2567

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ต่อมไร้ท่อ เบาหวานและโภชนบำบัด

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์หู คอ จมูก

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs