bih.button.backtotop.text

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถเกิดได้ในทุกอวัยวะ อุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น  เมื่ออายุมาขึ้นโดยอุบัติการณ์สูงสุดอยู่ที่ช่วงอายุ  60-70 ปี  เพศชายพบเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่าเพศหญิง

สาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ามีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

  1. สารเคมี เช่น สารเคมีปราบศัตรูพืช น้ำยาย้อมผม เป็นต้น
  2. ภูมิคุ้มกัน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรคลดลง เช่น โรคเอดส์ การปลูกถ่ายอวัยวะ โรคไขข้ออักเสบ เป็นต้น
  3. พันธุกรรม การเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้น มีความชัดเจนที่เกิดมาจากกรรมพันธุ์ทางครอบครัว เช่น พี่น้องอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตามลำดับ หรือเป็นพร้อมกัน
  4. การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัส HIV, EBV เป็นต้น
  • จะพบก้อนที่บริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ โดยก้อนเหล่านั้นจะไม่มีอาการเจ็บ ต่างจากการติดเชื้อที่จะมีอาการเจ็บที่ก้อนเนื้อ มีไข้ หนาวสั่น มีเหงื่อออกมากในกลางคืน
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดเร็ว อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ​ไอเรื้อรัง
  • หายใจไม่สะดวก
  • ต่อมทอนซิลโต
  • ปวดศีรษะ ซึ่งอาการนี้มักพบบริเวณต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท

แต่บางครั้งการคลำเจอก้อนก็อาจไม่ใช่ก้อนมะเร็งเสมอไป เพราะอาจเป็นเรื่องของการอักเสบจากการติดเชื้อ หรืออาจเป็นตัวโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง โดยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติ รีบมาพบแพทย์

  • ระยะที่ 1 พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพียงตำแหน่งเดียว เช่น บริเวณลำคอด้านซ้าย หรือบริเวณรักแร้ด้านขวา บริเวณใดบริเวณหนึ่ง
  • ระยะที่ 2 พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่สองตำแหน่งขึ้นไป แต่จะต้องอยู่ภายในด้านเดียวกันของกระบังลม เช่น บริเวณคอด้านซ้าย และคอด้านขวา หรือคอซ้ายกับรักแร้ซ้าย
  • ระยะที่ 3 พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้งส่วนบนและส่วนล่างของกระบังลม เช่น มีต่อมน้ำเหลืองโตที่รักแร้ร่วมกับที่ขาหนีบ
  • ระยะที่ 4 โรคจะกระจายออกนอกระบบน้ำเหลือง เช่น เกิดที่ไขกระดูก หรือเนื้อเยื่ออวัยวะอื่น เช่น ตับ ปอด สมอง กระดูก
  1. การตรวจด้วยเครื่องเพ็ทสแกน (PET Scan)
  2. การนำชิ้นเนื้อไปตรวจ (Pathology)
  3. การตรวจเลือด (Blood Test)
  4. การตรวจวิเคราะเซลล์
แก้ไขล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2565

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 6 คน

Related Health Blogs