bih.button.backtotop.text

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ คือ การอักเสบของเนื้อเยื่อห่อหุ้มหัวใจซึ่งมี 2 ชั้น หุ้มล้อมรอบหัวใจและส่วนของหลอดเลือดใหญ่ทั้งหมดที่ต่อเข้ากับหัวใจ ระหว่างเยื่อหุ้มหัวใจจะมีสารน้ำสีเหลืองใสปริมาณ 15-50 มิลลิลิตร ช่วยลดแรงเสียดทานให้หัวใจเต้นได้อย่างสะดวก

สาเหตุ/ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรค
  • การอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย
  • การอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น หัวใจขาดเลือด การบาดเจ็บ การปริแตกของหลอดเลือดแดงใหญ่ใกล้หัวใจ มะเร็งบริเวณทรวงอก การฉายรังสีบริเวณทรวงอก
  • การอักเสบจากภาวะตอบสนองของร่างกายหรือโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Systemic Lupus Erythematosus: SLE) ไข้รูมาติก รูมาตอยด์
  • เจ็บหน้าอก มีลักษณะเจ็บแปลบหรือแน่นรุนแรงบริเวณกลางหน้าอกหรือด้านซ้าย ร้าวไปคอ แขนหัวไหล่ หรือบริเวณสะบักข้างซ้าย อาการมากขึ้นเมื่อหายใจเข้าหรือไอหรืออยู่ท่านอน ทุเลาลงเมื่อนั่งโน้มตัวมาข้างหน้า
  • มีไข้ อ่อนแรง หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว ไอ ใจสั่น
  • กรณีที่เป็นการอักเสบเรื้อรังอาจไม่มีอาการเจ็บหน้าอก ในขั้นรุนแรงอาจมีอาการท้องบวม ขาบวม และภาวะความดันโลหิตต่ำ
  • ประวัติการมีไข้หวัดหรือติดเชื้อทางเดินหายใจ
  • ประวัติหัวใจวายหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณทรวงอก
  • ประวัติทางการแพทย์อื่นๆ
แพทย์จะทำการฟังเสียงหัวใจซึ่งเกิดจากการเสียดสีกันของเยื่อหุ้มหัวใจทั้งสองชั้น และสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของหัวใจ พบในช่วงแรกของโรคและมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจไม่มาก ฟังโดยใช้หูฟังปอดและหัวใจ เสียงที่ฟังได้อาจไม่คงอยู่ตลอด โดยหากฟังไม่ได้ในการตรวจครั้งแรกก็อาจฟังได้ในวันต่อมา
  • คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผลการตรวจจะประเมินการอักเสบจากลักษณะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้
  • เอกซเรย์ทรวงอก ภาพเอกซเรย์จะเห็นเงาของหัวใจและหลอดเลือดที่โตขึ้นหากมีภาวะที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
  • อัลตราซาวนด์หัวใจ ช่วยให้เห็นน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์และเอ็มอาร์ไอ ช่วยให้เห็นรอยโรคได้อย่างละเอียดชัดเจน
  • การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ เพื่อแยกสาเหตุการเกิดเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบว่าเกิดจากหัวใจวายเฉียบพลันหรือการอักเสบติดเชื้อ
  • เป้าหมายของการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก การอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ และต้นเหตุของการอักเสบ
  • ในขั้นต้นแพทย์อาจสั่งยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บและลดการอักเสบ และให้พักรักษาตัวที่บ้าน
  • หากการอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ แพทย์อาจให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและให้ยาปฏิชีวนะ หากมีภาวะบีบรัดหัวใจ คือมีของเหลวในถุงเยื่อหุ้มหัวใจ ต้องได้รับการรักษาโดยการเจาะน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจออก โดยใช้เข็มและท่อขนาดเล็กระบายน้ำออกมา
  • หากการอักเสบเรื้อรังจนทำให้เยื่อหุ้มหัวใจมีการหนาตัวเป็นพังผืดและมีหินปูนเกาะ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจโดยเฉพาะช่วงที่หัวใจคลายตัวเพื่อรับเลือดเข้าหัวใจ วิธีที่ดีที่สุดคือการผ่าตัดเลาะเยื่อหุ้มหัวใจที่บีบรัดออก ทำให้การคลายตัวของหัวใจดีขึ้น
อาจเกิดภาวะบีบรัดหัวใจ ซึ่งหมายถึงภาวะที่มีของเหลว (น้ำหรือเลือด) ปริมาณมากอยู่ในถุงเยื่อหุ้มหัวใจ ทำให้แรงดันในถุงเยื่อหุ้มหัวใจเพิ่มขึ้นและกดเบียดหัวใจ ทำให้เลือดดำไม่สามารถไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องขวาระหว่างที่หัวใจคลายตัว ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจห้องซ้ายลดลง เกิดความดันเลือดต่ำและช็อกตามมา ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
กรณีการอักเสบแบบเฉียบพลันไม่สามารถป้องกันได้ การได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและมิให้มีการอักเสบเรื้อรัง
แก้ไขล่าสุด: 17 มกราคม 2566

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

Related Packages

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs