bih.button.backtotop.text

มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน

มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน คือมะเร็งที่เกิดขึ้นในกลุ่มอวัยวะเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ชั้นใต้ผิวหนัง เช่น ก้อนไขมัน กล้ามเนื้อ เส้นเลือด เส้นประสาท เป็นต้น  เป็นมะเร็งที่พบไม่บ่อยและยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้เช่นกัน หากมาพบแพทย์และรับการรักษาโรคมะเร็งช้า ซึ่งแต่ละชนิดจะมีการวินิจฉัยและรักษาที่แตกต่างกัน

สาเหตุ

สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ชัดเจน เบื้องต้นในบางชนิดอาจมีปัจจัยเสี่ยงหลักที่สำคัญ เช่น

  1. พบความผิดปกติของหลอดเลือดตั้งแต่กำเนิด /ประวัติแขนขาบวมเรื้อรังจากทางเดินน้ำเหลืองอุดตันเรื้อรัง
  2. พันธุกรรมจากครอบครัวบางโรค เช่น Li- Fraumeni syndrome , Retinoblsatoma เป็นต้น
  3. การติดเชื้อไวรัสบางชนิด
  4. การถูกกระตุ้นจากสารเคมีในอุตสาหกรรม
  5. เคยมี หรือกำลังมีบาดแผลในบริเวณที่เป็นโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน    
  • มีก้อนขึ้นตามส่วนต่างๆ เช่น แขน ขา หรือลำตัว โดยก้อนนี้จะค่อยๆ ใหญ่ขึ้นและไม่เคลื่อนที่ตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย
  • มีอาการเจ็บหรือไม่มีอาการเจ็บก็ได้ แต่ถ้าหากมีแผลก็จะเป็นแผลเรื้อรังที่รักษาไม่หายหรือ มีแผลฟกช้ำ ที่มีอาการบวมโตมากขึ้นเรื่อย ๆ 

ส่วนมากพบบ่อยที่สุดคือบริเวณแขนขา รองลงมา ได้แก่ ลำตัว และศีรษะและลำคอ ตามลำดับ

ผู้ป่วยร้อยละ 20 มาพบแพทย์ด้วยโรคระยะแพร่กระจาย 

 การรักษาหลัก คือการผ่าตัดซึ่งพบว่าได้ผลการรักษาที่ดี หรืออาจร่วมกับการกับการรักษาเสริม ด้วยการฉายรังสี

  • การรักษาด้วยยามะเร็งแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง (Target) สามารถใช้รักษามะเร็งเนื้อเยื่อบางชนิด
  • รังสีรักษาในมะเร็งเนื้อเยื่ออาจทำได้ทั้งก่อนการผ่าตัด หรือหลังการผ่าตัด ซึ่งทั้งสองวิธีมีข้อดีข้อเสียต่างกัน โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน และพิจารณาวิธีที่เหมาะสมให้ผู้ป่วยแต่ละราย
  • ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยาเคมีบำบัดเสริมด้วยหากก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ และผลชิ้นเนื้อเป็นชนิดรุนแรง

การฉายรังสีอาจเป็นการรักษาหลักกรณีที่ก้อนผ่าตัดไม่ได้ ในผู้ป่วยระยะแพร่กระจาย อาจฉายรังสีเพื่อบรรเทาอาการจากก้อน ให้ยาเคมีบำบัดหรือยามุ่งเป้า (targeted therapy) ขึ้นกับชนิดของชิ้นเนื้อมะเร็ง 

มะเร็งเนื้อเยื่อบางชนิดมีการตอบสนองดีต่อยาเคมีบำบัด เช่น มะเร็งเนื้อเยื่อชนิด rhabdomyosarcoma, มะเร็งกระดูกชนิด Ewing’s sarcoma เป็นต้น จึงมักเริ่มการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดนำ แล้วตามหลังด้วยการผ่าตัดหรือการฉายรังสี ทั้งนี้ปริมาณรังสีที่ฉายจะแตกต่างกับมะเร็งเนื้อเยื่อชนิดอื่นๆ

ปัจจุบันไม่มีวิธีป้องกันโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนได้ 100% มีเพียงการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ระมัดระวัง หมั่นสังเกตอาการผิดปกติของตัวเองเรื่อย ๆ ตรวจสุขภาพทุกปี และรีบพบแพทย์เมื่อมีอาการ

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 2 คน

Related Health Blogs