bih.button.backtotop.text

มะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากการที่เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารมีการแบ่งจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกระเพาะอาหาร และสามารถกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ตับอ่อน ลำไส้ ปอด และรังไข่ รวมถึงต่อมน้ำเหลืองได้

ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่แน่ชัด แต่มีหลายปัจจัยที่พบว่าสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ ดังนี้
  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น 
  • เพศ เพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • เชื้อชาติ พบในคนเอเชียได้มากกว่าชนชาติผิวขาวกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกา
  • อาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทหมักดอง ตากเค็ม รมควัน อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น การรับประทานผักและผลไม้สดอาจช่วยลดความเสี่ยงลงได้
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถทำให้เกิดการอักเสบและแผลในกระเพาะอาหารได้ และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น
  • เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคโลหิตจางบางชนิด โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารสูงขึ้น
  • อาชีพ โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องสัมผัสกับฝุ่นและสารเคมีบางชนิดก่อให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ค่อยรับประทานผักและผลไม้
  • ภาวะอ้วน ผู้ชายที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น แต่ในเพศหญิงยังไม่มีหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างความอ้วนกับการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

ในระยะแรกของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอาจไม่มีอาการแสดง แต่เมื่อระยะของโรคมีการพัฒนาขึ้น ก็อาจทำให้มีอาการคล้ายโรคอื่นๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคไวรัสลงกระเพาะได้ ซึ่งหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์

  • รู้สึกอาหารไม่ย่อยหรือรู้สึกไม่สบายท้อง
  • ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
  • คลื่นไส้เล็กน้อย
  • ไม่อยากรับประทานอาหาร
  • มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก
 
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการลุกลามขึ้น อาจมีอาการดังต่อไปนี้
  • รู้สึกไม่สบายท้องโดยเฉพาะช่องท้องบริเวณส่วนบนและตรงกลาง
  • มีเลือดปนในอุจจาระ
  • อาเจียน โดยอาจมีอาเจียนเป็นเลือดได้
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • ปวดท้องหรือท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
  • อ่อนเพลีย
  • การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
  • การกลืนแป้งสารทึบแสง เป็นวิธีการตรวจโดยให้ผู้ป่วยกลืนน้ำที่ผสมด้วยสารทึบแสงคล้ายแป้ง ซึ่งจะไปเคลือบหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก และทำการถ่ายภาพเอกซเรย์เป็นระยะๆ ทำให้สามารถมองเห็นก้อนเนื้อหรือความผิดปกติอื่นๆ ได้
  • การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เพื่อทำการตรวจประเมินรอยโรคภายในกระเพาะอาหาร หากตรวจพบสิ่งผิดปกติหรือสิ่งที่น่าสงสัยสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจสอบต่อไปได้
  • การตรวจระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้องที่ติดอัลตราซาวนด์จะช่วยให้แพทย์ทราบความลึกของมะเร็งกระเพาะอาหารหรือการกระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงของมะเร็ง
  • การเอกซเรย์ปอด เพื่อตรวจความผิดปกติในช่องปอดและการแพร่กระจายของโรคไปในปอด
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ซึ่งจะแสดงภาพอวัยวะภายในแบบสามมิติ ช่วยให้แพทย์สามารถเห็นตำแหน่งของโรคและการกระจายของโรคได้ละเอียดมากกว่าการเอกซเรย์ธรรมดา

การรักษามะเร็งกระเพาะอาหารจะอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น

  • ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง
  • ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง
  • สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.24 of 10, จากจำนวนคนโหวต 157 คน

Related Health Blogs