bih.button.backtotop.text

บอกลาโรคริดสีดวงทวารหนัก

โรคริดสีดวงทวารหนักคืออะไร

โรคริดสีดวงทวารหนักเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่วัย 20 ปีขึ้นไป เกิดจากการบวมหรือการหย่อนยานของเนื้อเยื่อบริเวณภายในปากทวารหนัก โดยเนื้อเยื่อนี้ทำหน้าที่ช่วยยืดหยุ่น รองรับการเสียดสีระหว่างอุจจาระกับทวารหนักและช่วยปิดรูทวารให้สนิท

   

อาการของโรคริดสีดวงทวารหนักมีอะไรบ้าง

อาการแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะตามความรุนแรงของโรค คือ
ระยะที่ 1 หัวริดสีดวงยังอยู่ในทวารหนัก มักมีเลือดออกหลังถ่ายเสร็จ
ระยะที่ 2  มีเนื้อเยื่อโผล่ออกมาทางทวารหนักหลังจากถ่ายแล้วจะหดกลับเข้าไปได้เอง
ระยะที่ 3 มีเนื้อเยื่อโผล่ออกมาทางทวารหนัก ต้องใช้นิ้วดันถึงจะหดกลับเข้าไป
ระยะที่ 4 มีเนื้อเยื่อโผล่ออกมาทางทวารหนักตลอดเวลา ไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้



โรคริดสีดวงทวารหนักเกิดจากอะไร

  • พฤติกรรมการขับถ่ายที่ผิด เบ่งมาก นั่งนาน ถ่ายบ่อยหรือท้องผูก
  • การตั้งครรภ์
  • อายุมาก
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • เป็นโรคอ้วน


วินิจฉัยได้อย่างไร

  • ตรวจดูปากทวารหนัก
  • ตรวจทวารหนักด้วยนิ้วมือ เพื่อแยกโรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายกัน
  • ตรวจทวารหนักด้วยกล้องขนาดเล็ก เพื่อดูความผิดปกติได้อย่างชัดเจนมากขึ้น


รักษาได้ด้วยวิธีใดบ้าง

การรักษาขึ้นอยู่กับระยะความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปทำได้ดังนี้
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมการขับถ่าย การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย
  • การใช้ยา เช่น ยาระบาย ยาแก้ปวด ยาเหน็บ
  • การฉีดยา เพื่อให้ริดสีดวงยุบลงสำหรับผู้ป่วยที่มีริดสีดวงย้อยไม่มาก
  • การใช้ยางรัด เพื่อให้หัวริดสีดวงหลุดออกมาเหมาะกับผู้ป่วยที่มีริดสีดวงย้อยออกมาและมีขั้วขนาดเหมาะในการรัด 
  • การจี้ริดสีดวง เพื่อให้ริดสีดวงยุบและหยุดเลือดออก เหมาะกับผู้ป่วยในระยะที่ 1 และระยะที่ 2
  • การผ่าตัด เหมาะกับผู้ป่วยในระยะที่ 3 บางรายและระยะที่ 4


ป้องกันและลดความเสี่ยงได้หรือไม่

สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักได้โดย
  • รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงและดื่มน้ำให้เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน
  • ไม่นั่งนานๆ โดยเฉพาะนั่งส้วม
  • หลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระแรงๆ หากเป็นโรคท้องผูกให้พบแพทย์เพื่อรักษา
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • อย่ากลั้นอุจจาระโดยไม่จำเป็น
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
 
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2565

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs