ยาทางเลือกใหม่เพื่อลดระดับไขมันในเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ
ภาวะไขมันในเลือดสูงคืออะไร?
ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยเราสามารถแบ่งชนิดของไขมันในเลือดแบบง่ายๆ ได้เป็น 2 ชนิด คือ
-
คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นไขมันที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองจากตับ นอกจากนี้ร่างกายของเรายังได้รับคอเลสเตอรอลจากอาหารที่รับประทานเข้าไป มี 2 ชนิดหลักๆ คือ
-
คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low-density lipoprotein หรือ LDL) เป็นไขมันชนิดที่ไม่ดี เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หากร่างกายมีระดับ LDL ที่มากเกินไป ไขมันชนิดนี้จะไปสะสมตามผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดอุดตัน การไหลเวียนของเลือดและความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
-
คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (High-density lipoprotein หรือ HDL) เป็นไขมันชนิดดี มีหน้าที่นำไขมัน LDL จากส่วนต่างๆ ของร่างกายกลับไปที่ตับเพื่อขจัดออก ส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลง ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้
-
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) เป็นไขมันที่ได้มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงหรือได้รับอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลมากเกินไป หากร่างกายมีระดับไตรกลีเซอไรด์ที่มากเกินไปจะไปสะสมตามเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย นำไปสู่ภาวะโรคไขมันพอกตับ หรือโรคอ้วนได้
ภาวะไขมันในเลือดสูงอันตรายอย่างไร?
ภาวะไขมันในเลือดสูงอาจไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่ไขมันที่มีมากเกินความจำเป็นเหล่านี้อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ คอเลสเตอรอล รวมถึงไตรกลีเซอไรด์และไขมันชนิดอื่นๆ จะไปสะสมตามผนังหลอดเลือดและก่อตัวเป็นคราบพลัค ซึ่งคราบพลัคนั้นจะทำให้หลอดเลือดแดงแข็งและตีบตัน ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจและสมองได้เหมือนอย่างปกติ ทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มมากยิ่งขึ้น
ภาวะไขมันในเลือดสูง รักษาอย่างไร?
-
การรักษาแบบไม่ใช้ยา
-
ควบคุมการรับประทานอาหาร โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง เป็นต้น
-
หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันชนิดกรดไขมันอิ่มตัวสูง (saturated fatty acid) เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ
-
ใช้วิธีการนึ่ง ต้ม อบ ในการทำอาหาร แทนการทอด หรือผัด
-
รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น
-
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์
-
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
-
ลดน้ำหนักตัวหรือควบคุมน้ำหนักตัว
-
การรักษาแบบใช้ยา
สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีโรคร่วมหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังควบคุมระดับไขมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่ได้ แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยยา ปัจจุบันยาลดไขมันในเลือดมี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ รูปแบบรับประทานและรูปแบบฉีด
ยาลดไขมันในเลือดรูปแบบรับประทาน ยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
- ยาสำหรับคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) สูง
กลุ่มยา |
รายการยา |
ยากลุ่มสแตติน (Statins)
กลไกการออกฤทธิ์: ยับยั้ง HMG-CoA reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลโดยตับ |
- Simvastatin
- Atorvastatin
- Rosuvastatin
- Fluvastatin
- Pitavastatin
- Pravastatin
|
Bile acid sequestrants (BAS)
กลไกการออกฤทธิ์: จับกับน้ำดีและขับออกทางอุจจาระ ทำให้ตับใช้คอเลสเตอรอลในการสร้างน้ำดีแทน |
|
Ezetimibe
กลไกการออกฤทธิ์: ยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากทางเดินอาหาร |
|
กลุ่มยา |
รายการยา |
ไฟเบรต (Fibrates)
กลไกการออกฤทธิ์: เพิ่มการกำจัดไขมันประเภทที่มีไตรกลีเซอไรด์เป็นองค์ประกอบหลัก |
- Fenofibrate
- Gemfibrozil
- Pemafibrate
|
กรดไขมันโอเมกา-3
กลไกการออกฤทธิ์: ยับยั้งการดูดซึมไตรกลีเซอไรด์จากลำไส้และลดการสังเคราะห์ที่ตับ |
- Ethyl icosapentate
- Omega-3 fatty acid
|
ไนอะซินและอนุพันธ์ (Nicotinic acids)
กลไกการออกฤทธิ์: ลดการสร้างไตรกลีเซอไรด์จากตับ |
|
ยาลดไขมันในเลือดรูปแบบฉีด เป็นการรักษารูปแบบใหม่ อาจใช้สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาลดไขมันชนิดอื่นแล้วระดับไขมันยังไม่ถึงเป้าหมายที่ต้องการแม้จะใช้ในขนาดสูง ซึ่งยากลุ่มนี้มีข้อดีคือ ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องฉีดยาทุกวันก็สามารถคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการได้ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยายับยั้งพีซีเอสเค-9 (Protein convertase subtilisin/kexin type 9 inhibitors หรือ PCSK9 inhibitors) เช่น อะลิโรคูแมบ (Alirocumab) อีโวโลคูแมบ (Evolocumab) และ อินคลิซิแรน (Inclisiran)
ทำความรู้จักยากลุ่ม PCSK9 inhibitors:
ยาลดไขมันในเลือดกลุ่มใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง สะดวกยิ่งขึ้นเพราะไม่จำเป็นต้องใช้ทุกวัน
ในร่างกายมีพีซีเอสเค-9 (proprotein convertase subtilisin kexin type 9 หรือ PCSK9) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทในการลดจำนวนตัวรับของไขมันชนิด LDL จัดเป็นกลไกหนึ่งในการควบคุมสมดุลไขมันในเลือด หากพีซีเอสเค-9 ทำงานมาก จะทำให้มีไขมันชนิด LDL ในเลือดสูง ดังนั้น ยากลุ่ม PCSK9 inhibitors ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์นี้ จึงช่วยลดไขมันชนิด LDL ในเลือดได้ โดยยากลุ่มนี้แบ่งออกเป็นกลุ่ม 2 ย่อย คือ กลุ่มโมโนโคลนอลแอนติบอดี (monoclonal antibody) และกลุ่มอาร์เอ็นเอสังเคราะห์ (small interfering RNA หรือ siRNA)
ชื่อสามัญทางยา |
Alirocumab |
Evolocumab |
Inclisiran |
กลุ่มยา |
โมโนโคลนอลแอนติบอดี |
โมโนโคลนอลแอนติบอดี |
อาร์เอ็นเอสังเคราะห์ |
วิธีการบริหารและความถี่ในการใช้ยา |
ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ทุก 2 สัปดาห์ หรือ ทุก 4 สัปดาห์ |
ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ทุก 2 สัปดาห์ หรือ ทุก 4 สัปดาห์ |
ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ฉีดซ้ำครั้งที่ 2 ในอีก 3 เดือนต่อมา
จากนั้นฉีดทุก 6 เดือน |
ประสิทธิภาพ |
ลดไขมันชนิด LDL ได้ 60-61% จากค่าเริ่มต้น หลังจากฉีดยา 24 สัปดาห์ |
ลดไขมันชนิด LDL ได้ 62% จากค่าเริ่มต้น หลังจากฉีดยา 12 สัปดาห์ |
ลดไขมันชนิด LDL ได้ 62% จากค่าเริ่มต้น หลังจากฉีดยา 150 วัน |
อาการข้างเคียง |
▪ ปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด เช่น ปวด บวม แดง คัน
▪ อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
▪ กล้ามเนื้อหดเกร็ง
▪ ปวดกล้ามเนื้อ
▪ ท้องเสีย |
▪ ปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด เช่น ปวด บวม แดง คัน
▪ อาการคล้ายไข้หวัด
▪ อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
▪ ปวดศีรษะ
▪ ปวดหลัง
▪ ปวดข้อ
▪ คลื่นไส้ |
▪ ปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด เช่น ปวด บวม แดง คัน
▪ ปวดข้อ
▪ หลอดลมอักเสบ
|
ใครบ้างที่ได้รับประโยชน์จากยากลุ่มนี้?
ผู้ที่มีไขมันชนิด LDL ในเลือดสูง ถือเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากยากลุ่ม PCSK9 inhibitors โดยปัจจุบันมีการศึกษาการใช้ยากลุ่มนี้ในคน 3 กลุ่มหลัก คือ
-
ผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงจากพันธุกรรม เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนบางยีนที่ทำให้ไขมันชนิด LDL ในเลือดสูงมากตลอดเวลา การรักษาด้วยยากลุ่มสแตตินและการรักษาอื่นๆ ยังไม่เพียงพอในการลดไขมันชนิด LDL
-
ผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น หัวใจวายหรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง การใช้ยากลุ่ม PCSK9 inhibitors จะช่วยป้องกันไม่ให้กลับเป็นซ้ำได้
-
ผู้ที่ไม่สามารถทนต่ออาการข้างเคียงของยากลุ่มสแตตินได้ โดยทั่วไปมักเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อ ทำให้ไม่สามารถใช้ยากลุ่มสแตตินในขนาดสูงได้
References:
- ยาลดไขมันในเลือดชนิดฉีด | โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 24 เม.ษ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-knowledge-article-info-old.php?id=590
- UpToDate; Patient education: High cholesterol and lipids (Beyond the Basics) [Internet].2021 [cited 2024 Apr 24]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/high-cholesterol-and-lipids-beyond-the-basics
- American Heart Association. Prevention and Treatment of High Cholesterol (Hyperlipidemia). American Heart Association [Internet]. 2020 [cited 2024 Apr 24]. Available from: https://www.heart.org/en/health-topics/cholesterol/prevention-and-treatment-of-high-cholesterol-hyperlipidemia
- High Cholesterol . Mayo clinic [Internet]. 2023 [cited 2024 Apr 24]. Available from: https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-cholesterol/symptoms-causes/syc-20350800
- Alirocumab: Drug information. UpToDate [Internet]. 2024 [cited 2024 Apr 24]. Available from: Alirocumab: Drug information - UpToDate
- Evolocumab: Drug information. UpToDate [Internet]. 2024 [cited 2024 Apr 24]. Available from: Evolocumab: Drug information - UpToDate
- Inclisiran: Drug information. UpToDate [Internet]. 2024 [cited 2024 Apr 24]. Available from: Inclisiran: Drug information - UpToDate
- Jennifer G, et al. Efficacy and Safety of Alirocumab in Reducing Lipids and Cardiovascular Events. N Engl J Med. 2015;372:1489-1499.
- Sabatine MS, et al. Efficacy and Safety of Evolocumab in Reducing Lipids and Cardiovascular Events. N Engl J Med. 2015;372:1500-1509.
- Raal F, et al. Efficacy, Safety, and Tolerability of Inclisiran in Patients With Homozygous Familial Hypercholesterolemia: Results From the ORION-5 Randomized Clinical Trial. Circulation. 2024;149:354–362.
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: