bih.button.backtotop.text

ตรวจสุขภาพหลอดเลือดสมองด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวด์

การที่เรามีหลอดเลือดสมองตีบ บางครั้งอาจจะยังไม่มีอาการแต่ถ้าเราทิ้งไว้ ในอนาคต จะทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้เพราะฉะนั้นการตรวจหา แล้วการรักษาก่อนที่จะเกิดโรคมีความสำคัญเป็นอย่างมากวิธีที่ง่ายและรวดเร็วในการตรวจ คือการตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดสมองซึ่งประกอบไปด้วย Carotid Ultrasound และ TCD Carotid Ultrasound



การที่เรามีหลอดเลือดสมองตีบ บางครั้งอาจจะยังไม่มีอาการแต่ถ้าเราทิ้งไว้ ในอนาคต จะทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้เพราะฉะนั้นการตรวจหา แล้วการรักษาก่อนที่จะเกิดโรคมีความสำคัญเป็นอย่างมากวิธีที่ง่ายและรวดเร็วในการตรวจ คือการตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดสมองซึ่งประกอบไปด้วย Carotid Ultrasound และ TCD Carotid Ultrasound คือการตรวจหลอดเลือด carotid artery ซึ่งอยู่ตรงคอ เป็นหลอดเลือดที่ส่งเลือดจากหัวใจขึ้นไปเลี้ยงสมอง การตรวจคือจะหาคราบหลอดเลือด ถ้ามีคราบหลอดเลือดหากมีมากอาจจะทำให้การไหลเวียนของเลือด ไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอหรือว่าคราบนั้น สามารถหลุดเป็นชิ้นเล็กๆ ไปอุดหลอดเลือดในสมองทำให้เกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ การตรวจอีกอันแบบคือการตรวจ TCD หรือว่า Transcranial Doppler Ultrasound  คือการตรวจหลอดเลือดใหญ่ในสมอง ซึ่งเป็นแขนงของหลอดเลือดที่คอนั่นเอง ดูว่ามีการติดหรืออุดตันหรือไม่  

ผู้ที่ควรจะตรวจ คือกลุ่มเสี่ยงเช่น อายุเกิน 55 ปี ดื่มแอลกอฮอล์  สูบบุหรี่ หรือว่ามีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง  น้ำหนักเกิน  เป็นโรคนอนกรนหยุดหายใจ หรือว่ามีโรคประจำตัวหรือว่ามีประวัติครอบครัวเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ หากเจอว่ามีคราบไขมันในหลอดเลือด การรักษาส่วนใหญ่จะใช้เป็นยารักษา ยกเว้นว่า ถ้าเกิดว่า เจอหลอดเลือดตีบที่มากเกินไปจนเลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่พอ การรักษาหลักจะเป็นการใส่ขดลวดเข้าไปถ่างขยาย เพื่อเปิดเลือดให้ไปเลี้ยงสมองหรือว่าการผ่าตัดเอาคราบไขมันนั้นออก โดยสรุป การตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดสมอง  เป็นการตรวจที่ง่ายและรวดเร็ว ใช้เวลาเพียงแค่ 15 ถึง 20 นาทีไม่เจ็บ แล้วรู้ผลทันที สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงดังที่หมอได้บอกไป อยากให้มาตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดสมอง Carotid Ultrasound และ TCD  เพื่อตรวจหาและป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง



 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 26 มิถุนายน 2567

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs