bih.button.backtotop.text

อย่านิ่งนอนใจเมื่อลูกปวดท้องเรื้อรัง

อาการปวดท้องในเด็กเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ลำไส้อักเสบท้องอืด แก๊ส อาหารไม่ย่อย หรือท้องผูกซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้ในเด็กทุกวัย  อย่างไรก็ตามหากเด็กบ่นว่ามีอาการปวดท้องบ่อยๆ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดท้องก่อนที่จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น
    

ภาวะปวดท้องเรื้อรังหมายความว่าอย่างไร

ภาวะปวดท้องเรื้อรัง คือ อาการปวดท้องนานกว่า 3 เดือน อาจปวดแบบเป็นๆหายๆหรือปวดเรื้อรัง ซึ่งสามารถเกิดจากโรคที่ไม่รุนแรง เช่น ท้องผูก อาหารไม่ย่อย ไปจนถึงการเป็นโรคที่รุนแรง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบเรื้อรัง มะเร็งลิมโฟมา นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น


 

ปวดท้องเรื้อรังอย่างไรจึงควรมาพบแพทย์

  • อาการปวดท้องเกิดขึ้นบ่อยจนต้องหยุดโรงเรียน
  • กินอาหารได้น้อยลง น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์
  • น้ำหนักลด
  • มีการขับถ่ายที่ผิดปกติไป เช่น ท้องผูกหรือท้องเสีย

 

อาการปวดท้องเรื้อรังเป็นอย่างไร

ปวดท้องเรื้อรังมีอาการแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ปวดและสาเหตุของการปวดท้องซึ่งเด็กอาจมีอาการปวดท้องร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น
  • คลำพบก้อนก้อนในช่องท้อง
  • ท้องอืดบวมผิดปกติ
  • เลือดออกในทางเดินอาหาร เช่น อาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นเลือด
  • อ่อนเพลีย
  • มีไข้
  • น้ำหนักลด ทานอาหารได้ลดลง ความอยากอาหารลดลลง
  • ตัวเหลือง
  • มีแผลที่ก้น หรือในช่องปาก
  • ซีด

 

สาเหตุของอาการปวดท้องเรื้อรังมีอะไรบ้าง

อาการปวดท้องเรื้อรังเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดจากความผิดปกติทางร่างกายหรือปัจจัยด้านจิตใจ ดังนี้

 

วินิจฉัยได้อย่างไร

แพทย์วินิจฉัยโดยการซักประวัติและตรวจร่างกายทั่วไป ดูการเจริญเติบโตของเด็กและพิจารณาตามประวัติบ่งชี้ว่าต้องตรวจร่างกายเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง เช่น
  • การทำอัลตร้าซาวด์ช่องท้องเพื่อดูความผิดปกติในช่องท้อง เช่น ตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี เนื้องอกในช่องท้อง
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์(CT Scan) เพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในช่องท้องอย่างละเอียดชัดเจน ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ
  • การส่องกล้องทางเดินอาหาร  เพื่อวินิจฉัยอาการผิดปกติในท่อทางเดินอาหาร  เช่น การอักเสบเป็นแผลและเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ ติ่งเนื้อ เนื้องอก นอกจากนี้ยังสามาถสามารถตัดชิ้นเนื้อหรือเยื่อบุทางเดินอาหารที่สงสัยไปตรวจเพิ่มเติม และสามารถให้การรักษาผ่านทางการส่องกล้องได้อีกด้วย
  • เจาะเลือดเพื่อดูการอักเสบและแพ้อาหารในกรณีที่สงสัย
  • การตรวจอุจจาระหาการติดเชื้อ การตรวจพิเศษทางอุจจาระที่บ่งชี้ถึงการอักเสบในลำไส้และภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำมากขึ้น
  • การเป่าลมหายใจเพื่อหาเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร และเป่าลมหายใจเพื่อตรวจหาภาวะการย่อยน้ำตาลแลคโตสฟรุกโตสที่ไม่สมบูรณ์


การรักษาและการป้องกัน

เบื้องต้นสามารถป้องกันได้ด้วยสุขอนามัยที่ดี เช่น กินร้อน ใช้ช้อนกลาง กินอาหารครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ

สำหรับการรักษาแพทย์จะรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ ซึ่งส่วนใหญ่รักษาไม่ยากหากทราบสาเหตุที่แท้จริง
 


เรียบเรียงโดย ศุนย์กุมารเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 08 มีนาคม 2567

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs