bih.button.backtotop.text

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงร่วมกับการออกกำลังกาย

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงร่วมกับการออกกำลังกาย (stress echocardiogram) เป็นการตรวจเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคหัวใจ โดยให้ผู้เข้ารับการตรวจออกกำลังกายเพื่อประเมินว่าขณะออกกำลังกายกล้ามเนื้อหัวใจของผู้เข้ารับการตรวจได้รับออกซิเจนจากกระแสเลือดเพียงพอหรือไม่ มีอาการตอบสนองในขณะออกกำลังกายที่ผิดปกติหรือไม่ เช่น หายใจขัด เจ็บแน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ คลื่นไฟฟ้าหัวใจมีการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น และใช้คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงตรวจหาว่ากล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวได้ดีเพียงใด ดูลักษณะและการทำงานของลิ้นหัวใจ รวมถึงวัดขนาดของห้องหัวใจ ทำให้สามารถตัดสินได้ว่าบุคคลผู้นั้นป่วยเป็นโรคหัวใจหรือไม่ ทั้งนี้การใช้คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงจะช่วยเพิ่มความแม่นยำและถูกต้องในการวินิจฉัยเมื่อเทียบกับการเดินสายพานธรรมดา

ขั้นตอนในการตรวจ (ใช้เวลาประมาณ 60 นาที)
  • เจ้าหน้าที่จะติดแผ่นขั้วไฟฟ้า (electrode) ที่หน้าอกผู้ป่วยเพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจระหว่างการตรวจ และเฝ้าสังเกตความดันโลหิตและคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลาที่ทำการตรวจ
  • ผู้เข้ารับการตรวจนอนราบบนเตียงเพื่อให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการหัวใจบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงก่อนการออกกำลังกาย
  • ผู้เข้ารับการตรวจเริ่มออกกำลังกายโดยให้เริ่มเดินช้าๆ บนสายพาน
  • เจ้าหน้าที่จะปรับความเร็วของสายพานและค่าความชันให้เหมือนเดินขึ้นเนินในทุก 3 นาที
  • เมื่ออัตราการเต้นของหัวใจถึงขีดสูงสุดและผู้เข้ารับการตรวจไม่สามารถออกกำลังกายได้อีกต่อไป เจ้าหน้าที่จะหยุดสายพาน
  • ผู้เข้ารับการตรวจต้องกลับไปนอนที่เตียงตรวจทันที โดยนอนตะแคงไปด้านซ้ายเพื่อให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการหัวใจบันทึกภาพการทำงานของหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงภายหลังออกกำลังกาย
  • เมื่อการตรวจเสร็จสิ้น แพทย์จะอ่านและแปลผลการตรวจจากการเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้าหัวใจและภาพถ่ายการทำงานของหัวใจที่ได้จากคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงก่อนและหลังออกกำลังกาย
  • งดอาหารและเครื่องดื่มก่อนตรวจ 4 ชั่วโมง
  • งดรับประทานยาตอนเช้าของวันที่ตรวจ เว้นแต่แพทย์สั่งไม่ให้งด
  • นำรายการยาที่ใช้ในช่วงนั้นให้แพทย์ดู โดยระบุปริมาณที่ใช้ด้วย
  • สวมเสื้อผ้าหลวมๆ ที่ใส่สบายและรองเท้าที่เหมาะสำหรับการออกกำลังกาย
  • หากเป็นเบาหวานและใช้อินซูลินอยู่ ให้ใช้อินซูลินครึ่งหนึ่งของปกติและให้งดอาหารเช้า เว้นแต่แพทย์สั่งไม่ให้งด หากรับประทานยารักษาโรคเบาหวานอยู่ ให้งดยาตอนเช้า

ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีหากต้องการให้สายพานทำงานช้าลงหรือหยุด หรือเมื่อมีอาการต่อไปนี้

  • อาการแสบร้อน ปวด หรือแน่นหน้าอก
  • คลื่นไส้ วิงเวียน อ่อนเพลีย
หลังการตรวจผู้เข้ารับการตรวจสามารถรับประทานอาหาร ยา และทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติเว้นแต่แพทย์จะห้าม 
  1. การตรวจคลื่นหัวใจโดยใช้โดบูทามีนกระตุ้น (dobutamine stress echocardiogram)
  2. การตรวจหัวใจด้วยสารกัมมันตรังสีก่อนและหลังออกกำลังกาย (nuclear stress test)
  3. การสวนหัวใจ (cardiac catheterization)
แก้ไขล่าสุด: 26 มิถุนายน 2567

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน

ดูเพิ่มเติม

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.76 of 10, จากจำนวนคนโหวต 51 คน

Related Health Blogs