bih.button.backtotop.text

การตรวจสวนหัวใจ (การฉีดสีหัวใจ)

การสวนหัวใจ คือ การฉีดสารทึบรังสีดูช่องทางเดินของหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ เป็นกระบวนการที่ล่วงล้ำร่างกายเพียงเล็กน้อย แต่ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินได้ว่า หลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบ-ตันบ้างหรือไม่ กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงเพียงใด ลิ้นหัวใจเปิดปิดได้ดีเพียงใด อีกทั้งยังสามารถวัดความดันภายในหัวใจและส่วนต่างๆ ของหัวใจได้ด้วย

ข้อบ่งชี้ในการสวนหัวใจ (การฉีดสีหัวใจ)
  • มีอาการเจ็บหน้าอก
  • คลื่นไฟฟ้าหัวใจระยะพักหรือเมื่อออกกำลังกายผิดปกติ
  • ตรวจหาบริเวณที่อาจมีรอยโรค
  • ตรวจเพื่อเตรียมการผ่าตัดหัวใจ
ผู้รับการตรวจต้องงดอาหารและเครื่องดื่มก่อนตรวจ 6 ชั่วโมง และอาจต้องงดยาบางชนิดก่อนการตรวจ โปรดปรึกษาแพทย์เรื่องการงดยา

ระหว่างการสวนหัวใจจะมีสายน้ำเกลือเส้นเล็กที่แขนและต้องติดขั้วสื่อไฟฟ้า (electrode) ที่หน้าอกและขา หลังจากฉีดยาชาเฉพาะที่แขนหรือขาหนีบแล้วแพทย์จะใส่สายสวนขนาดเล็กบริเวณนั้น แล้วใส่สายสวนขนาดเล็กเข้าไปทางหลอดเลือด สายสวนเป็นท่ออ่อนที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ประมาณไส้ปากกาลูกลื่นและมีหัวเป็นเข็ม สายสวนจะเข้าไปในหลอดเลือดจนถึงหัวใจ จากนั้นแพทย์จะฉีดสารทึบรังสีเข้าไปตามหลอดเลือดหัวใจ แล้วใช้เครื่องเอกซเรย์ถ่ายภาพหลอดเลือดเป็นชุดอย่างรวดเร็ว ภาพที่ได้แสดงเห็นช่องทางไหลเลือดเลี้ยงหัวใจอย่างละเอียด ขั้นตอนการสวนหัวใจและฉีดสีใช้เวลาประมาณ 30–60 นาที เมื่อเรียบร้อยแล้ว สายสวนจะถูกดึงออกแล้วต้องใช้พลาสเตอร์ปิดแผลห้ามเลือดจุดที่ใส่สายสวนสักระยะหนึ่ง
  • อาจมีลิ่มเลือดอุดตันทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต (0.2%)
  • อาจเสียชีวิต (0.1%)
  • บริเวณที่ใส่สายสวนอาจเลือดออก (น้อยกว่า 2%)
การตรวจคลื่นสะท้อนเสียงของหัวใจเมื่อออกกำลัง (Stress Echocardiogram) การตรวจเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CTA) หรือการตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRA)

แพทย์

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน

ดูเพิ่มเติม

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.57 of 10, จากจำนวนคนโหวต 140 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง