bih.button.backtotop.text

โรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรัง คือ สภาวะที่ไตถูกทำลาย มีผลทำให้ความสามารถของไตในการทำงานลดลง เช่น การรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย การควบคุมน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ในเลือด การกำจัดของเสียออกจากเลือด การกำจัดยาและพิษออกจากร่างกาย การหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด เป็นต้น โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรังคือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน รวมถึงสภาวะอื่นๆ เช่น ไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต เป็นต้น 

การตรวจพบโรคไตสำคัญอย่างไร
เพราะโรคไตอาจมีอาการแย่ลงได้ทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว หลายคนไม่ทราบด้วยซ้ำว่าตนเป็นโรคไตอยู่จนกว่าจะมีอาการแย่แล้ว ดังนั้น การตรวจพบและได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ อาจทำให้โรคไตเรื้อรังคงตัวและหายได้ หากปล่อยไว้จนมีอาการแย่ลงจะนำไปสู่ภาวะไตวาย ซึ่งไตจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป จำเป็นต้องได้รับการรักษา เช่น ฟอกเลือด หรือเปลี่ยนไต
หากมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจสุขภาพดังนี้
  • วัดความดันโลหิต
  • ตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ โปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับร่างกาย โปรตีนที่ผ่านการกรองแล้วจะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกาย เมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โปรตีนจะรั่วออกมากับปัสสาวะ การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะนั้นทำได้หลายวิธีด้วยกัน หากไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ได้ตรวจพบโปรตีนมาแล้วสองครั้ง หมายความว่ามีโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคไตเรื้อรัง
  • ตรวจเลือดตามปกติเพื่อหาค่าครีเอตินิน (creatinine) ซึ่งเป็นของเสียที่มาจากการทำงานของกล้ามเนื้อ ผลที่ได้จากการตรวจหาค่าครีเอตินินนั้นจะใช้ในการประเมินค่าการทำงานของไตหรือ GFR (glomerular filtration rate) ค่าการทำงานของไตนี้จะบอกว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด ค่าการทำงานของไตที่ต่ำอาจหมายถึงไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือเสียหน้าที่ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย
ผู้ป่วยโรคไตในระยะเริ่มแรกหลายท่านอาจไม่มีอาการรุนแรง จนกระทั่งโรคมาถึงขั้นร้ายแรงแล้ว อาจมีอาการดังต่อไปนี้
  • อ่อนแรง
  • คิดอะไรไม่ค่อยออก
  • เบื่ออาหาร
  • นอนไม่หลับ
  • ผิวแห้ง คัน
  • กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืน
  • เท้าและข้อเท้าบวม
  • ตาบวมน้ำ โดยเฉพาะในตอนเช้า
  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน
 
แพทย์จะทำการตรวจที่เฉพาะเจาะจงเพิ่มขึ้นเพื่อวางแผนการรักษา โดยจะตรวจดังต่อไปนี้
  • คำนวณค่าการทำงานของไต ซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการบ่งบอกว่าไตยังทำงานได้มากน้อยเพียงใด เพื่อให้แพทย์ทราบได้ถึงระยะของโรคไตและช่วยในการวางแผนการรักษา
  • ทำการตรวจอัลตราซาวนด์หรือ CT scan เพื่อถ่ายภาพไตและทางเดินปัสสาวะ เพื่อพิจารณาขนาดของไต ตรวจหาก้อนนิ่วหรือเนื้องอก และดูว่ามีปัญหาอะไรเกี่ยวกับโครงสร้างของไตและทางเดินปัสสาวะหรือไม่
  • ตัดชิ้นเนื้อไตส่งตรวจ ซึ่งจะทำในบางกรณีเท่านั้นในการตรวจดูประเภทของโรคไตที่เฉพาะเจาะจง ดูว่าไตถูกทำลายไปมากน้อยเพียงใดและช่วยในการวางแผนการรักษา ในการตัดชิ้นเนื้อนั้น แพทย์จะนำเนื้อเยื่อเล็กๆ ของไตส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์
ระยะของโรค รายละเอียดของระยะต่างๆ ค่าการทำงานของไต (GFR)
ระยะที่ 1 ไตเริ่มเสื่อม (มีโปรตีนในปัสสาวะ) ค่า GFR ปกติ 90 หรือมากกว่า
ระยะที่ 2 ไตเสื่อม ค่า GFR ลดลงเล็กน้อย 60-89
ระยะที่ 3 ค่า GFR ลดลงปานกลาง  
30-59
ระยะที่ 4 ค่า GFR ลดลงมาก 15-29
ระยะที่ 5 ไตวาย น้อยกว่า 15
 
ค่าการทำงานของไตจะบ่งบอกให้แพทย์ทราบได้ว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด เมื่ออาการโรคไตยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ค่าการทำงานของไต GFR ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน
แก้ไขล่าสุด: 02 ตุลาคม 2567

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์โรคไต

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 8.41 of 10, จากจำนวนคนโหวต 325 คน

Related Health Blogs