bih.button.backtotop.text

การฝังแร่กัมมันตรังสี (Brachytherapy)

การฝังแร่กัมมันตรังสี (brachytherapy) เป็นประเภทหนึ่งของรังสีรักษา (radiotherapy) ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง โดยการใส่ต้นกำเนิดของรังสีภายในก้อนมะเร็งโดยตรงหรือใกล้ๆ กับก้อนมะเร็ง ทำให้สามารถรักษาได้อย่างตรงจุด และลดความเสียหายของเนื้อเยื่อปกติบริเวณรอบๆ ก้อนมะเร็งได้ ทั้งนี้การฝังแร่กัมมันตรังสีอาจใช้เป็นการรักษาเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับการรักษาอื่นๆ เช่น การฉายรังสีภายนอก หรือการผ่าตัด

วิธีการฝังแร่กัมมันตรังสี
การรักษาด้วยการฝังแร่กัมมันตรังสีแบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่
  • การฝังแร่แบบถาวร (permanent implantation) เป็นการใส่ต้นกำเนิดของรังสีภายในก้อนมะเร็งแบบถาวร โดยต้นกำเนิดของรังสีที่ใส่จะมีขนาดเล็กเท่าเมล็ดงาและให้อัตราปริมาณรังสีขนาดต่ำ ซึ่งจะค่อยๆ ปล่อยรังสีออกมาอย่างช้าๆ และค่อยๆ หมดลง ส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้ในการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การฝังแร่แบบชั่วคราว (temporary implantation) เป็นการใส่ต้นกำเนิดของรังสีภายในหรือใกล้ๆ กับก้อนมะเร็งแบบชั่วคราว โดยต้นกำเนิดของรังสีจะให้อัตราปริมาณรังสีขนาดสูง วิธีนี้มักใช้ในการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก
ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น
  • ตำแหน่งของก้อนมะเร็งภายในร่างกาย
  • ขนาดของก้อนมะเร็ง
  • ไม่มีการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
การฝังแร่กัมมันตรังสีอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ โดยผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการและความรุนแรงของผลข้างเคียงแตกต่างกัน ขึ้นกับชนิดของมะเร็ง ระยะของโรค และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับการฝังแร่กัมมันตรังสีจึงควรสอบถามผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.81 of 10, จากจำนวนคนโหวต 54 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง