bih.button.backtotop.text

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด

 

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด (CTA) เป็นการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูหลอดเลือดในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ หลอดเลือดแดง ที่คอและสมอง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดช่องอก หลอดเลือดช่องท้อง/อุ้งเชิงกราน หลอดเลือดแขนและขา เป็นต้น  ในระหว่างการตรวจจะมีการฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำผ่านเข็มที่เตรียมไว้บริเวณแขน/ขา และเมื่อสารทึบรังสีไหลผ่านระบบหมุนเวียนโลหิตไปยังบริเวณหลอดเลือดที่จะทำการตรวจ นักรังสีการแพทย์จะสแกนและเก็บข้อมูลภาพเอกซเรย์ด้วยเทคนิคพิเศษที่ให้ความละเอียดสูง จากนั้นข้อมูลภาพที่ได้จะถูกนำไปเข้ากระบวนการทางคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างออกมาเป็นภาพ 2 มิติ, 3 มิติ และภาพในระนาบอื่นๆ เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำต่อไป
 
MicrosoftTeams-image-(20).png

รูปที่ 1. ภาพสามมิติของหลอดเลือดแดงที่คอและสมอง (A,B) และภาพสามมิติหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณช่องอก ช่องท้อง และอุ้งเชิงกราน (C,D) แสดงรายละเอียดกายวิภาคของหลอดเลือดและแขนงของหลอดเลือดต่างๆ ได้อย่างละเอียดและชัดเจน
 
  1. เพื่อวินิจฉัยและประเมินโรคหลอดเลือดโป่งพองในหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aortic Aneurysm) ทั้งในช่องอก, ช่องท้องหรือในหลอดเลือดแดงอื่น ๆ
  2. เพื่อวินิจฉัยการฉีดขาดในผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aortic Dissection) ซึ่งทำให้มีเลือดเซาะเข้าไประหว่างชั้นของผนังหลอดเลือดทำให้ชั้นผนังหลอดเลือดแยกออกจากกัน ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ อาจทำให้เสียชีวิตได้อย่างเฉียบพลัน
  3. ตรวจหาภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการที่ภายในของหลอดเลือดแดงแคบลงเนื่องจากมีการก่อตัวของคราบไขมัน (plaque) และหินปูน
  4. ประเมินการตีบและการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ เพื่อวางแผนสำหรับการการใส่ขดลวด(Stent)หรือการบายพาสหลอดเลือดหัวใจ
  5. ตรวจหาลิ่มเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary Embolism) และภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ขา (Deep Vein Thrombosis)
  6. ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดกรณีมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติระหว่างหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง (arteriovenous malformation :AVM) ภายในสมอง, ปอด, แขน, ขาหรือที่อื่น ๆ
  7. ตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดแต่กำเนิด โดยเฉพาะหลอดเลือดแดงในเด็ก (เช่น ความผิดปกติในหัวใจหรือหลอดเลือดอื่น ๆ เนื่องจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด)
  8. ตรวจประเมินหลอดเลือดแดง เพื่อเตรียมพร้อมการใส่ขดลวด endovascular หรือการผ่าตัดการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด หรือ TAVI (transcatheter aortic valve implantation)
  9. ตรวจประเมินหลอดเลือดแดงที่ไตและช่องท้อง สำหรับผู้ที่จะบริจาคไต เพื่อเตรียมการปลูกถ่ายไต
  10. ประเมินหลอดเลือดแดงที่นำเลือดไปหล่อเลี้ยงเนื้องอก ก่อนการผ่าตัดหรือขั้นตอนอื่น ๆ เช่น การทำคีโมหรือการฉายรังสี
  11. ตรวจหาการบาดเจ็บของหลอดเลือดแดงหลังเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บต่างๆ
  12. ใช้ติดตามการรักษาหลังได้รับการผ่าตัดหลอดเลือด
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดแดงเป็นการตรวจที่สามารถให้รายละเอียดได้ถูกต้องแม่นยำ ใช้วิธีการสร้างภาพ 2 มิติ, 3 มิติซึ่งให้ข้อมูลทางด้านการวินิจฉัยได้มากกว่าการเอกซเรย์ทั่วไป จึงช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติได้มากกว่า สามารถให้การตรวจวินิจฉัยในโรคที่ซับซ้อนได้ และโดยทั่วไปใช้เวลาตรวจไม่นาน จึงมีความสะดวกและรวดเร็ว

 
MicrosoftTeams-image-(21).png
รูปที่ 2. นักรังสีการแพทย์ทำการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แก่ผู้ป่วย

 
การตรวจหลอดเลือดด้วยเครื่องเอกซเรย์ (Angiogram) การตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหลอดเลือด (MRA) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาร่วมกันของทีมแพทย์และผู้ป่วยโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
แก้ไขล่าสุด: 07 มิถุนายน 2564

Doctors Related

Related Centers

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs