bih.button.backtotop.text

ภาวะหัวใจโต

เป็นภาวะที่หัวใจมีขนาดใหญ่หรือหนากว่าปกติ

สาเหตุ/ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรค
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคลิ้นหัวใจ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ
  • ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง
  • ภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจมากผิดปกติ
  • โรคโลหิตจาง
  • ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
  • ภาวะเหล็กเกิน
  • อื่นๆ เช่น การติดเชื้อไวรัสบริเวณหัวใจ อาจเกิดกับหญิงตั้งครรภ์ในช่วงใกล้คลอด โรคไตในระยะที่ต้องฟอกไต การใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติด การติดเชื้อเอชไอวี และโรคที่ได้รับการถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม เป็นต้น
ภาวะหัวใจโตมักไม่มีอาการ แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องก็อาจทำให้มีอาการที่แสดงถึงภาวะหัวใจล้มเหลวตามมา บางรายอาจมีอาการเล็กน้อยต่อเนื่องหลายปี หรือบางรายอาจมีอาการมากและเฉียบพลันได้ โดยลักษณะอาการที่เกิดขึ้น มีดังนี้ ภาวะหัวใจโตที่ตรวจพบในระยะต้นจะรักษาได้ง่าย ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าวข้างต้นหรือวิตกกังวลว่าตนเองอาจมีภาวะนี้ให้ปรึกษาแพทย์
 
เบื้องต้นแพทย์อาจซักประวัติและสอบถามอาการของผู้ป่วย จากนั้นจึงตรวจร่างกาย อาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น
  1. การใช้ยารักษาโรค แพทย์อาจแนะนำแผนการรักษา รับประทานยาตามความเหมาะสม เช่น
  • ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดปริมาณโซเดียมและน้ำในร่างกาย ช่วยให้ระดับความดันในเส้นเลือดและหัวใจลดต่ำลง
  • ยาลดความดัน ใช้สำหรับช่วยลดความดันโลหิตและทำให้หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้น
  • ยาเบต้าบล็อกเกอร์ ใช้เพื่อช่วยลดความดันโลหิตและช่วยในการทำงานของหัวใจ
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นยาที่ใช้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด ป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดสมอง
  • ยาต้านการเต้นหัวใจผิดจังหวะ ช่วยให้จังหวะการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยกลับเป็นปกติ
  1. การใช้กระบวนการทางการแพทย์และการผ่าตัด
  • การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์กระตุ้นไฟฟ้า (pacemaker) สำหรับภาวะหัวใจโตบางชนิด
    • เพื่อช่วยประสานการบีบตัวของหัวใจฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ในโรคหัวใจบางชนิด
    • เพื่อกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ เมื่อมีภาวะการเต้นหัวใจผิดปกติ
  • การผ่าตัดลิ้นหัวใจ หัวใจโตที่มีสาเหตุเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
  • การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจโตจากเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
  • การใช้เครื่องช่วยการไหลเวียนของเลือดในหัวใจห้องล่างซ้ายหรืออาจเรียกว่าหัวใจเทียม ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งมีหัวใจอ่อนแออาจต้องใช้อุปกรณ์นี้ช่วยในการสูบฉีดเลือด
  • การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ อาจเป็นทางเลือกสุดท้ายหากการรักษาด้วยยาหรือวิธีอื่นๆ ไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจโตอาจเสี่ยงต่อการมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ขึ้นอยู่กับว่าหัวใจส่วนใดบ้างที่ได้รับผลกระทบดังนี้
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวป่วยด้วยโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจโต ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยง เนื่องจากจะช่วยให้ตรวจวินิจฉัยพบโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติหรือโรคใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะหัวใจโตแต่เนิ่นๆ และได้รับการรักษาทันท่วงที
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมอาหารให้มีความพอดี
  • หากิจกรรมนันทนาการเพื่อคลายเครียด ควบคุมอารมณ์และดูแลสุขภาพจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ
  • งดเว้นหรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
 
ภาวะหัวใจโตสามารถรักษาได้หากตรวจพบอาการและไม่อยู่ในขั้นรุนแรง หากหมั่นดูแลสุขภาพและตรวจพบความผิดปกติที่เป็นสัญญาณบ่งบอกได้เร็ว ก็สามารถรักษาให้หายได้ โดยวิธีการรักษาหรือแนวทางในการรักษาขึ้นอยู่กับอาการและร่างกายของผู้ป่วย ว่าเหมาะกับการรักษาวิธีใด โดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

Doctors Related

Related Centers

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs