bih.button.backtotop.text

อัมพฤษ์ อัมพาต

โรคหลอดเลือดสมองหรือที่คนทั่วไปรู้จักว่าอัมพฤษ์อัมพาต(Stroke/Brain attack) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ2ของโลก และสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทย พบได้ ทุกเพศทุกวัย 

สาเหตุของอัมพฤษ์ อัมพาต
สาเหตุที่ทำให้สมองขาดเลือด แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
 
  1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้สมองขาดเลือด พบได้ประมาณ 80%  หลอดเลือดสมองอุดตันเกิดได้จากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง และขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง ส่วนสาเหตุของหลอดเลือดสมองตีบอาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง
  2. หลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke) พบได้ส่วนน้อยประมาณ 20% เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออก หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย ซึ่งอันตรายมากเนื่องจากทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉับพลันและทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยทันที
สิ่งที่ทำให้คนนิ่งนอนใจและไม่มาตรวจที่โรงพยาบาลคือผู้ที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว(Transient ischemic attack: TIA) หรือเข้าใจว่าเป็นอัมพฤษ์ซึ่งอาการหายเองไม่ต้องรักษา ซึ่งถ้ามีอาการเตือนเกิดขึ้นชั่วขณะ หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งแล้วหายไปเอง ประมาณ 10%จะมีภาวะสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที
 
  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
  • มองเห็นภาพซ้อน มองเห็นครึ่งซีก ตามัว หรือตาบอดข้างเดียวทันที
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก
การรักษาขึ้นกับสาเหตุของภาวะการขาดเลือดไปเลี้ยงสมองว่าเกิดหลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตก เนื่องจากแนวทางการรักษาแตกต่างกัน
 
หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป้าหมายของการรักษาคือทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้อย่างปกติ โดยทางเลือกในการรักษามีหลายวิธี  ในกรณีผู้ที่มีอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองเกิดอาการในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงและรีบมาโรงพยาบาลทันทีที่เกิดอาการ แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งพบว่าจะได้ผลดีกับหลอดเลือดสมองแตก เป้าหมายของการรักษาคือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่ระดับความดันโลหิตสูงมากส่งผลให้เลือดออกมากขึ้น ชึ่งอาจทำให้เนื้อสมองเสียหายและกดการทำงานของสมอง แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองและอัตราเสี่ยงการเสียชีวิต

อัมพาตสามารถป้องกันได้  ควรป้องกันก่อนการเกิดโรค คือ ต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมทำให้หลอดเลือดเกิดการตีบ อุดตัน หรือแตก เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ หรือขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น
 
องค์การโรคหลอดเลือดสมองแห่งอเมริกา(American Stroke Association)กล่าวว่าโรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันและรักษาได้ ถ้าทราบอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง จะช่วยลดการเกิดภาวะทุพพลภาพและการเสียชีวิตได้  ในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 30,000 คน/ปีและทุกๆ 4 คนจะป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

การป้องกันสามารถทำได้ ดังนี้
  • ตรวจเช็กสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ถ้าพบต้องรีบรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
  • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ในกรณีที่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์ ห้ามหยุดยาเอง และควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการผิดปกติ
 
ผู้ที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันแล้ว แพทย์จะให้การรักษาโดยใช้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แต่การใช้ยาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการติดตามผลและใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากถ้ามีการใช้ยาผิด ประมาทเลินเล่อ หรือไม่มีการติดตามดูแลอย่างสม่ำเสมออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
แก้ไขล่าสุด: 04 กุมภาพันธ์ 2564

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์โรคระบบประสาท

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 2 คน

Related Health Blogs