RSV คืออะไร
RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ โดยทำให้เกิดอาการที่รุนแรงได้เมื่อเกิดกับเด็กเล็ก หรือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เชื้อนี้สามารถติดต่อผ่านทางละอองน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย
ช่วงใดที่ RSV มักมีการระบาด
โรคติดเชื้อ RSV มักมีการระบาดในช่วงปลายฤดูฝน ถึงต้นฤดูหนาว
ผู้ใหญ่ติด RSV ได้หรือไม่ และใครเป็นกลุ่มเสี่ยง
ผู้ใหญ่สามารถติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ได้เช่นเดียวกับเด็กเล็ก โดยมักมีอาการเหมือนเป็น
หวัดธรรมดา คือ ไอ น้ำมูกเล็กน้อยและไม่มีไข้ แต่ในกลุ่มที่อาจเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง เช่น มี
ภาวะปอดอักเสบ ปอดบวม หรือเสียชีวิตได้นั้น คือ กลุ่มคนอายุมากกว่า 65 ปี และกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น เป็น
โรคหอบหืด โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ หรือกลุ่มที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคติดเชื้อไวรัส RSV โดยเฉพาะ แต่ให้การรักษาตามอาการของผู้ป่วย เช่น ขับเสมหะ โดยการให้ยาพ่นขยายหลอดลม เคาะปอด ให้ออกซิเจนถ้าจำเป็น สำหรับในรายที่มีอาการรุนแรงมาก หรือ มีการกำเริบของหอบหืดหรือ หลอดลมอุดกั้น อาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ใช้เครื่องช่วยหายใจและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดใน
แผนกผู้ป่วยวิกฤต (ICU)
อาการ
อาการไอเป็นนานเหมือนในเด็กหรือไม่
ในผู้ใหญ่มักมีอาการระยะสั้นไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามในกลุ่มที่มีหลอดลมอักเสบมาก หรือกลุ่มที่มี
โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง(COPD) อยู่ก่อนนั้น อาจทำให้มีอาการไอต่อเนื่องเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนได้
ป้องกันอย่างไร
ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส RSV แต่สามารถป้องกันในแบบเดียวกันกับการติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น การหมั่นล้างมืออยู่เสมอ ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการป่วยโดยเฉพาะเมื่อเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรง ใส่หน้ากากอนามัย ไม่ใช้แก้วน้ำหรืออุปกรณ์ร่วมกัน ให้ใช้ช้อนกลาง เป็นต้น
คำแนะนำ
สำหรับผู้สูงอายุและกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวนั้นเสี่ยงได้ง่ายต่อการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) แต่ยังมีโรคทางเดินหายใจอื่นที่สามารถป้องกันการเกิดของโรคได้ด้วยการฉีดวัคซีนเพื่อการป้องกัน ได้แก่
โรคไข้หวัดใหญ่ ป้องกันโดยฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และ
โรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัส(pneumococcus) ป้องกันโดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัส (pneumococcus) เป็นต้น
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 12 กันยายน 2566