You're been inactive for a while. For security reason, we'll automatically sign you out from our website. Please Click "Login" to extend your session
ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจ กำหนดการนัด และอื่นๆ
ขณะนี้ ไม่สามารถเข้าสู่ระบบด้วยเบอร์โทรศัพท์เป็นการชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก
ยังไม่มีบัญชี? Create Account
ติดตามข่าวสารล่าสุด และ นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้ทันที
มีบัญชีอยู่แล้ว? Log In
ตัวคัดกรองที่เลือก: ทั้งหมด
ประเภท : ทั้งหมด
ล้างทั้งหมด
ไข้เลือดออกจากเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) เป็นไข้เลือดออกที่พบในประเทศไทยและประเทศเขตร้อน เชื้อไวรัสเดงกีมี 4 สายพันธุ์ คือ เดงกี1 (DENV-1), เดงกี2 (DENV-2), เดงกี3 (DENV-3), และเดงกี4 (DENV-4)
หากคุณมีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป หรือมีอายุระหว่าง 19-49 ปี แต่มีภาวะความเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต หรือโรคตับเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคพิษสุรา หรือสูบบุหรี่ ร่วมด้วย สำคัญเป็นอย่างยิ่งที่คุณควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส… นอกจากจะช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบแล้ว วัคซีนนี้ยังช่วยป้องกันคุณจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อบริเวณสมอง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะวิกฤตหรือเสียชีวิตได้
ภาวะไขมันในเลือดสูงถือเป็นปัญหาสุขภาพอันดับต้นๆ ของทุกเพศทุกวัย เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคแทรกซ้อนที่อันตรายไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมแล้ว การรักษาด้วยยาเป็นอีกวิธีสำคัญเพื่อช่วยลดไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันได้มีการพัฒนายาทางเลือกใหม่คือ “ยากลุ่ม PCSK9 inhibitors” ที่นอกจากจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมระดับไขมันในเลือดได้อย่างดีแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องใช้ทุกวันอีกด้วย
การที่เรามีหลอดเลือดสมองตีบ บางครั้งอาจจะยังไม่มีอาการแต่ถ้าเราทิ้งไว้ ในอนาคต จะทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้เพราะฉะนั้นการตรวจหา แล้วการรักษาก่อนที่จะเกิดโรคมีความสำคัญเป็นอย่างมากวิธีที่ง่ายและรวดเร็วในการตรวจ คือการตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดสมองซึ่งประกอบไปด้วย Carotid Ultrasound และ TCD Carotid Ultrasound
มาฟัง ผศ.พญ. มนัสมนต์ นาวินพิพัฒน์ ให้ความรู้เกี่ยวกับ โรคโลหิตจาง ว่ามีอาการอย่างไร
การบริจาคโลหิต ถือเป็นการช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์โดยตรง จึงนับว่าเป็นกุศลอย่างยิ่ง แต่หลายคนอาจจะกังวลว่า การบริจาคโลหิตมากและบ่อยครั้งอาจจะทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ไปฟัง ผศ.พญ. มนัสมนต์ นาวินพิพัฒน์ ให้ความรู้กันเลยค่ะ
การที่มีหลอดเลือดสมองตีบนั้น บางครั้งยังไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ แต่ถ้าทิ้งไว้จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอัมพาตอัมพฤกษ์ซึ่งอาจร้ายแรงถึงชีวิตได้ การหาความเสี่ยงและป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคนั้นจึงมีความสำคัญอย่างมาก การหาความเสี่ยงวิธีง่ายๆทำได้อย่างไรอ่านได้จากบทความนี้
เมื่อพูดถึงโรคร้ายที่เป็นอันตรายถึงชีวิต คนส่วนใหญ่มักนึกถึงโรคมะเร็งและโรคหัวใจเป็นลำดับแรกๆ แต่จากสถิติในประเทศไทยพบว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวันอันควรสูงเป็นอันดับหนึ่งในเพศหญิงและสูงเป็นอันดับสองในเพศชาย รวมถึงทำให้มีอัตราตายมากกว่าโรคหัวใจขาดเลือดและโรคเบาหวานถึง 2 เท่าตัว บทความนี้จะพาทุกท่านให้รู้เท่าทันโรคหลอดเลือดสมองกันให้มากขึ้นค่ะ
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมาจากการติดเชื้อโรคต่างๆ ตั้งแต่เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสและเชื้อรา โดยเฉพาะผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียจะมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ติดเชื้อโรคอื่นๆ เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายหยุดต่อสู้กับเชื้อโรคและกลับมาทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในร่างกายของตัวผู้ป่วยเอง ทำให้เกิดการอักเสบทั่วทั้งร่างกาย ส่งผลให้อวัยวะในร่างกายทำงานล้มเหลวในที่สุด เป็นภาวะที่อันตรายต่อชีวิตและต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน