วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก (Qdenga®) สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกีสายพันธุ์ต่างๆ สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 4 ปี ถึง 60 ปี สามารถฉีดได้ทั้งในผู้ที่เคยและไม่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อนโดยไม่ต้องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนการฉีดวัคซีน
- ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อไข้เลือดออก 80.2 %
- ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากการติดเชื้อไข้เลือดออก 90.4 %
- ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย สายพันธุ์เอ (A) 2 สายพันธุ์ และ สายพันธุ์บี (B) 2 สายพันธุ์ โดยบุคคลทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันเป็นประจำทุกปี
วัคซีนไข้หวัดใหญ่สี่สายพันธุ์ขนาดสูง ออกแบบมาเพื่อป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเกิดไข้หวัดใหญ่ที่ยืนยันโดยห้องปฏิบัติการได้ 24.2% ช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่หรือปอดอักเสบได้ถึง 64.4% และลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 48.9% ในผู้สูงอายุ เมื่อเทียบกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดสามสายพันธุ์ขนาดปกติ
วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ (Havrix, Avaxim) ใช้สําหรับสร้างภูมิคุ้มกันแบบ active immunisation ต่อต้านการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ เหมาะสําหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ
- Havrix: ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป ควรฉีดวัคซีน 2 เข็ม โดยฉีดเข็มที่ 2 ควรฉีดในช่วง 6 - 12 เดือน หลังได้รับวัคซีนเข็มแรก
- Avaxim: ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ควรฉีดวัคซีน 2 เข็ม โดยฉีดเข็มที่ 2 ควรฉีดในช่วง 6 - 12 เดือน หลังได้รับวัคซีนเข็มแรก
- ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ 94 - 100%
- สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอในระยะยาว ได้เป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี
- HBsAg ซึ่งไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแต่จะไปกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย สามารถฉีดป้องกันได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด
วัคซีนป้องกันโรคงูสวัดมี 2 ชนิด ได้แก่
- วัคซีนชนิดเชื้อเป็น ป้องกันการเกิดโรคงูสวัดในผู้ใหญ่อายุ 50-59 ปี ได้ 69.8% และป้องกันอาการปวดตามเส้นประสาท หลังเป็นโรคงูสวัดได้ 66.5%
- วัคซีนชนิดไกลโคโปรตีน ซับยูนิต (ไม่ใช่เชื้อเป็น) ป้องกันการเกิดโรคงูสวัดในผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปได้ 97.2% และป้องกันอาการปวดตามเส้นประสาทหลังเป็นโรคงูสวัดได้ 91.2%
วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์สามารถฉีดได้ในผู้หญิงและผู้ชาย อายุตั้งแต่ 9 – 45 ปี
เป็นวัคซีนรวมที่ประกอบไปด้วยเชื้อไวรัสมีชีวิตที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ที่ผลิตจากเชื้อไวรัส Mump, Measles และ Rubella มีข้อบ่งใช้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ อีกทั้งยังเป็นวัคซีนที่สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยจัดเป็นวัคซีนที่ต้องให้ในเด็กทุกคน
โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Streptococcus pneumoniae (S. pneumoniae) ซึ่งสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณหูชั้นกลาง (หูชั้นกลางอักเสบ) การติดเชื้อบริเวณไซนัส (ไซนัสอักเสบ) รวมถึงการติดเชื้อในบริเวณอื่นๆ เช่น การติดเชื้อบริเวณปอด (ปอดอักเสบ) การติดเชื้อในกระแสเลือดและการติดเชื้อบริเวณสมอง (เยื่อหุ้มสมองอักเสบ) ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะวิกฤตหรือเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ดี เราสามารถป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้ด้วยการฉีดวัคซีน
- คอตีบ (D-Diphtheria) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheriae สร้างสารพิษที่ทำให้เกิดแผ่นเนื้อเยื่อหนาตัวขึ้นในลำคอ เป็นเหตุให้เกิดการตีบตันของระบบทางเดินหายใจ กล้ามเนื้ออัมพาต หัวใจล้มเหลว และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ถึงแม้จะได้รับการรักษา แต่ผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 10 คน อาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อนี้ได้
- บาดทะยัก (T-Tetanus) เป็นโรคที่มีความรุนแรงถึงแก่ชีวิต เกิดจากสารพิษที่สร้างจากเชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani สารพิษดังกล่าวทำให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายเกิดการหดเกร็ง ซึ่งอาจนำไปสู่อาการ “ขากรรไกรค้าง (Locking of the jaw)” ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถอ้าปาก กลืน หรือแม้กระทั่งหายใจ บาดทะยักสามารถคร่าชีวิตของผู้ติดเชื้อได้ถึง 1 ใน 5 คน
- ไอกรน (P-Pertussis หรือ Whooping cough) เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis เชื้อดังกล่าวทำให้เกิดอาการไอที่ควบคุมไม่ได้อย่างรุนแรง มีผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคไอกรนถึง 1 ใน 20 คน ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้น สิ่งที่น่ากังวลคือผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อไอกรนอาจแพร่เชื้อไปสู่เด็กทารกซึ่งมีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะเกิดอาการรุนแรงจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
มีประสิทธิภาพสูงถึง 82.6% ในการป้องกันโรคทางเดินหายใจส่วนล่างที่เกิดจากเชื้อไวรัส RSV ในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ส่วนในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีโรคร่วมดังต่อไปนี้อย่างน้อย 1 โรค ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหืด โรคทางเดินหายใจ/ปอดเรื้อรัง ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคตับหรือโรคไตเรื้อรัง พบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคทางเดินหายใจส่วนล่างที่เกิดจากเชื้อไวรัส RSV ได้สูงถึง 94.6%
โรคโควิด-19 เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรง ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่มีโรคประจำตัว มีโอกาสที่จะเกิดภาวะรุนแรง เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรืออาจเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ ยังมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวที่เรียกว่า Long COVID แม้ว่าจะหายดีจากโรคแล้วก็ตาม