bih.button.backtotop.text

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เป็นวิธีการที่ใช้ในการประเมินปัญหาในลำไส้ใหญ่ที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยใช้กล้องส่องลำไส้ใหญ่ (colonoscope) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก ผอม ยาว และยืดหยุ่นได้ มีกล้องวิดีโอและดวงไฟขนาดเล็กมากติดอยู่ที่ปลายท่อ แพทย์จะสามารถเคลื่อนไหวกล้องดังกล่าวในลำไส้ใหญ่ให้ไปในทิศทางที่ต้องการได้ ภาพที่กล้องบันทึกได้ภายในลำไส้ใหญ่จะปรากฏบนจอโทรทัศน์โดยมีคุณภาพความคมชัดที่ดีและสามารถเก็บรายละเอียดภายในลำไส้ใหญ่ได้ทั้งหมด ซึ่งจะให้ความถูกต้องแม่นยำมากกว่าการทำเอกซเรย์

Overview

ลำไส้ใหญ่เป็นส่วนสุดท้ายในระบบย่อยอาหารของมนุษย์ มีลักษณะเป็นท่อกลวง มีความยาวประมาณ 5 ฟุต มีหน้าที่หลักในการเก็บกากอาหารที่ไม่ได้ถูกดูดซึมเข้าร่างกาย ก่อนที่ร่างกายจะทำการขับถ่ายออกมา ส่วนที่เรียกว่าลำไส้ใหญ่นั้นเริ่มตั้งแต่ลำไส้ใหญ่ตอนต้นซึ่งอยู่ติดกับลำไส้เล็กตอนปลาย และสิ้นสุดที่บริเวณทวารหนัก

 กล้องบันทึกได้ในลำไส้ใหญ่

  • ใช้ในการประเมินปัญหาที่เกิดขึ้นกับลำไส้ใหญ่ เช่น การเสียเลือด ความเจ็บปวด และอาการเปลี่ยนแปลงของลำไส้ใหญ่ เช่น ท้องเสียเรื้อรัง หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ที่อาจตรวจพบมาแล้วจากการตรวจร่างกายก่อนหน้านี้
  • บ่งชี้ให้แพทย์ทราบและช่วยในการรักษาอาการเลือดออกในลำไส้ใหญ่
  • ใช้ในการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่และช่วยในการรักษาก้อนเนื้องอกแบบที่ไม่ใช่มะเร็ง (polyps) ที่เจริญเติบโตขึ้นที่บริเวณผนังลำไส้ใหญ่
อาจทำให้แพทย์ไม่สามารถประเมินหรือตรวจวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ หากท่านไม่ต้องการเข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ กรุณาปรึกษาแพทย์
  • การสวนแป้งแบเรียม (barium enema) เป็นวิธีการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ โดยการสวนสารทึบรังสีชนิดแป้งแบเรียมเข้าทางทวารหนักเพื่อให้แป้งไปเคลือบที่ผนังลำไส้ใหญ่ จากนั้นจึงทำการเอกซเรย์ อย่างไรก็ตามอาจต้องใช้การส่องกล้องผ่านลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (sigmoidoscopy) ร่วมด้วยเพื่อให้เห็นผลการตรวจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • การตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการตรวจที่ให้ผลชัดเจนกว่าการเอกซเรย์ธรรมดา อย่างไรก็ดี การตรวจวิธีนี้อาจไม่สามารถค้นหาติ่งเนื้อขนาดเล็กและไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจ รวมถึงไม่สามารถตรวจหาการอักเสบได้ ดังนั้นอาจต้องทำการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เพิ่มเติม
  • การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (fecal occult blood test) เพื่อตรวจหาเลือดที่ปนอยู่ในอุจจาระ หากผลตรวจออกมาเป็นบวก อาจต้องทำการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เพิ่มเติม
แก้ไขล่าสุด: 13 ตุลาคม 2567

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 7.28 of 10, จากจำนวนคนโหวต 125 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง