ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดต่างไปจากเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยเราสามารถแบ่งชนิดไขมันในเลือดแบบง่ายๆ ได้เป็น 2 ชนิด คือ
- คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
- คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือ ไขมันชนิดไม่ดี เป็นชนิดที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจหรือสมอง เพราะสามารถสะสมบริเวณผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง
- คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) หรือ ไขมันชนิดดี มีส่วนช่วยในการขนส่งและกำจัดไขมันชนิดอันตรายออก และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันประเภทหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดการสะสมที่ผนังหลอดเลือดได้เช่นกันหากมีปริมาณสูงมากๆ แม้ว่าจะมีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่าไขมันชนิดคอเลสเตอรอล แต่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคตับอ่อนอักเสบได้
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ อาจมีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดดังต่อไปนี้เพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ระดับคอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) สูง, ระดับคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) สูง, ระดับคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) ต่ำ, ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง หรืออาจมีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดร่วมกัน 2 อย่างขึ้นไปก็ได้
สาเหตุใดบ้างที่ทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ?
- การรับประทานอาหาร เช่น ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์ เป็นส่วนประกอบ
- สาเหตุมาจากโรคหรือภาวะความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น ภาวะน้ำหนักเกิน โรคเบาหวาน โรคไต ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) โรคตับอักเสบ โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือมาจากยาที่รับประทาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาไอโสเตรติโนอิน (Isotretinoin) ยาคุมกำเนิดบางชนิด ยาเคมีบำบัดบางชนิด ยาต้านไวรัสเอชไอวีบางชนิด หรือจากการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์
- พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
ระดับไขมันในเลือดที่เหมาะสม ควรเป็นเช่นไร ?
ชนิดไขมัน |
ระดับที่เหมาะสม (มิลลิกรัม/เดซิลิตร) |
คอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) |
< 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร |
คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) |
< 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับบุคคลทั่วไป
< 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือผู้ป่วยเบาหวาน |
คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) |
> 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้ชาย
> 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้หญิง |
ไตรกลีเซอไรด์ |
< 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร |
หากมีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ จะรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
- ปรับพฤติกรรม ซึ่งได้แก่
- ลดน้ำหนัก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) หรือไขมันชนิดดี
- ปรับการรับประทานอาหาร
- ลดการรับประทานไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และคอเลสเตอรอลจากอาหาร เช่น ดื่มนมขาดมันเนยหรือพร่องมันเนยทดแทน ลดปริมาณเนื้อแดงติดมัน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทะเลพวกปลาหมึก หอยนางรม กุ้ง ลดอาหารประเภททอดหรือผัด ลดการใช้เนยเทียมหรือมาการีน เลือกใช้น้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง ได้แก่ น้ำมันจากถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน มะกอก ข้าวโพด รำข้าว สำหรับผู้ที่มีภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลสูง
- เพิ่มสัดส่วนของผักหรือผลไม้ที่มีใยอาหารสูง และเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต
- งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
- การใช้ยาช่วยลดไขมัน โดยใช้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์
- ยาสำหรับคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) สูง
กลุ่มยา |
รายการยา |
ยากลุ่มสแตติน (Statins)
กลไกการออกฤทธิ์: ยับยั้ง HMG-CoA reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลโดยตับ |
- Simvastatin
- Atorvastatin
- Rosuvastatin
- Fluvastatin
- Pitavastatin
- Pravastatin
|
Bile acid sequestrants (BAS)
กลไกการออกฤทธิ์: จับกับน้ำดีและขับออกทางอุจจาระ ทำให้ตับใช้คอเลสเตอรอลในการสร้างน้ำดีแทน |
|
Ezetimibe
กลไกการออกฤทธิ์: ยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากทางเดินอาหาร |
|
PCSK9 (Proprotein convertase subtilisin/kexin type 9) inhibitors
กลไกการออกฤทธิ์: ยากลุ่มใหม่ล่าสุดที่ใช้รักษาภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ PCSK9 ซึ่งปกติแล้วเป็นเอนไซม์ที่ทำลายตัวพาคอเลสเตอรอลเข้าสู่ตับ ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เมื่อยายับยั้ง PCSK9 ท้ายสุดจะมีผลเพิ่มการนำ LDL เข้าสู่ตับ จึงลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ (อาจใช้ร่วมกับยารายการอื่น) |
รูปยาน้ำบรรจุในหลอดยาฉีดพร้อมใช้ สำหรับฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
- Alirocumab ขนาด 75 หรือ 150 มิลลิกรัม ทุก 2 สัปดาห์
- Evolocumab ขนาด 140 มิลลิกรัม ทุก 2 สัปดาห์ หรือ 420 มิลลิกรัม ทุกเดือน
|
กลุ่มยา |
รายการยา |
Fibrates
กลไกการออกฤทธิ์: เพิ่มการกำจัดไขมันประเภทที่มีไตรกลีเซอไรด์เป็นองค์ประกอบหลัก |
|
น้ำมันปลา (Fish oil)
กลไกการออกฤทธิ์: มีกรดไขมันอิสระจำพวก Omega-3 fatty acid ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่ชัด |
|
Nicotinic acid หรือ Niacin
กลไกการออกฤทธิ์: ลดการสร้างไตรกลีเซอไรด์จากตับ |
|
หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตลอด 24 ชั่วโมง
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: