bih.button.backtotop.text

มะเร็งลำไส้เล็ก

มะเร็งลำไส้เล็ก เป็นมะเร็งชนิดที่พบไม่บ่อย เกิดจากการที่เซลล์มีการเจริญเติบโตผิดปกติ ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากลำไส้เล็กเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร และเป็นส่วนที่ยาวที่สุด

มะเร็งลำไส้เล็กมี 4 ชนิด
  • Adenocarcinomas จะเริ่มเกิดที่ต่อมเซลล์ที่อยู่ใกล้กับลำไส้เล็ก พบได้ 1 ใน 3 ของมะเร็งลำไส้เล็ก
  • Carcinoid tumors เป็นชนิด Neuroendocrine Tumor (NET) ซึ่งจะเติบโตช้า และเป็นชนิดที่พบได้บ่อย
  • Lymphomas เกิดจากระบบภูมิต้านทานที่เรียกว่า Lymphocytes ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในร่างกาย รวมถึงในลำไส้เล็ก
  • Sarcomas จะเริ่มจาก Connective Tissues เช่น กล้ามเนื้อ มะเร็งชนิดนี้ในลำไส้เล็กพบมากที่สุด เรียกว่า Gastrointestinal Stromal Tumors (GISTs)
  • ปวดท้อง (Pain in the belly (abdomen)
  • คลื่นไส้ อาเจียน (Nausea and vomiting)
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ (Weight loss without trying)
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า (Weakness and feeling tired; fatigue)
  • อุจจาระดำ (Dark-colored stools (from bleeding into the intestine)
  • ค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำ (Low red blood cell counts (anemia)
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง (Yellowing of the skin and eyes (jaundice)
  1. การตรวจเลือด
  2. การตรวจโดยการสวนแป้งแบเรียมร่วมกับก๊าซ ( Double Contrast Barium Enema) : สามารถมองเห็นว่าเยื่อเมือกบริเวณที่มีรอยโรคนั้นจะหนาขึ้น เยื่อเมือกไม่เป็นระเบียบ รอยย่นของเยื่อเมือกหายไปและยังสามารถมองเห็นระดับความแข็งของผนังลำไส้ นอกจากนี้ยังสามารถมองเห็นการถูกทำลายของติ่งเนื้อ มีเงาดำและช่องของลำไส้เล็กส่วนต้นแคบอีกด้วย
  3. การตรวจโดยการส่องกล้อง
  4. การตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy)
  5. การตรวจอัลตราซาวนด์ การส่องกล้องตรวจคลื่นความถี่สูง การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) : สามารถเห็นได้ว่าผนังลำไส้บางส่วนหนาขึ้น และยังสามารถเห็นถึงขอบเขต ระดับความลึกของเนื้องอกที่รุกล้ำและบริเวณรอบๆ ต่อมน้ำเหลืองว่ามีการลุกลามหรือไม่ รวมไปถึงสามารถมองเห็นสภาพของตับและอวัยวะภายในช่องท้องได้ด้วย
  6. การตรวจ เครื่องเพ็ท/ซีที (PET/CT)
  1. การผ่าตัด : สามารถยึดตามตำแหน่งของมะเร็งและอาการของโรคมาเลือกวิธีการผ่าตัด ซึ่งได้แก่ การผ่าตัดลำไส้เล็กส่วนต้นและหัวตับอ่อน การผ่าตัดท่อลำไส้เล็กแบบเป็นช่วงๆ และการผ่าตัดส่วนใหญ่ของกระเพาะอาหาร เป็นต้น
  2. การฉายรังสีและการใช้ยาเคมี : การฉายรังสีและใช้ยาเคมีจะเห็นผลไม่ชัดนัก แต่การให้ยาเคมี จะสามารถยืดอายุของผู้ป่วยให้นานขึ้น อีกทั้งการฉายรังสีและให้ยาเคมีประกอบในระหว่างผ่าตัดหรือหลังผ่าตัด ก็สามารถยกระดับอัตราการผ่าตัดและลดการกลับมาเป็นมะเร็งลำไส้เล็กซ้ำ
  3. การใช้ยามุ่งเป้า (Target therapy)
แก้ไขล่าสุด: 26 มิถุนายน 2566

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคลำไส้ใหญ่ และทวารหนักครบวงจร

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs