You're been inactive for a while. For security reason, we'll automatically sign you out from our website. Please Click "Login" to extend your session
ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจ กำหนดการนัด และอื่นๆ
ขณะนี้ ไม่สามารถเข้าสู่ระบบด้วยเบอร์โทรศัพท์เป็นการชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก
ยังไม่มีบัญชี? Create Account
ติดตามข่าวสารล่าสุด และ นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้ทันที
มีบัญชีอยู่แล้ว? Log In
ตัวคัดกรองที่เลือก: ทั้งหมด
ประเภท : ทั้งหมด
ล้างทั้งหมด
โรคมือเท้าปาก (Hand-foot-mouth disease) เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) เชื้อไวรัสเหล่านี้มักก่อโรคในเด็กเล็กโดยเฉพาะที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ใหญ่สามารถติดเชื้อได้แต่อาการอาจไม่รุนแรงหรือไม่แสดงอาการ เชื้อไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ ตุ่มหรือผื่นที่ผิวหนัง
วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่เป็นชนิด เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ผลิตโดยการใช้สารพันธุกรรมสังเคราะห์ที่จำลองมาจากสารพันธุกรรมของไวรัส เมื่อฉีดกระตุ้นเข้าไปในร่างกายจะไปกำกับให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ เพื่อกระตุ้นทำให้เซลล์ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างภูมิต่อต้านเชื้อซาร์สโควี-2 โดยไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ร่างกายมนุษย์
โรคโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสซาร์สโควี-2 (SARS-CoV-2) ซึ่งติดต่อจากการสัมผัสกับละอองฝอยของน้ำลาย เสมหะ น้ำมูกของผู้ติดเชื้อ ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อจนถึงเริ่มมีอาการป่วยประมาณ 2-14 วัน
โรคอีสุกอีใส (chickenpox) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella) สามารถติดต่อผ่านทางการสัมผัสกับผู้ป่วยหรือใช้ของร่วมกัน รวมทั้งการหายใจเอาฝอยละอองจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยเข้าไป
วัคซีนบีซีจี (BCG vaccine) มีชื่อเต็มคือ Bacillus Calmette-Guérin Vaccine ใช้ป้องกันวัณโรค ผลิตจากเชื้อวัณโรคพันธุ์ Mycobacterium bovis ที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่หมดฤทธิ์ในการทำให้เกิดโรค วัคซีนนี้มีประสิทธิภาพประมาณร้อยละ 70-80 ในการป้องกันโรค
โรคไข้เหลือง (Yellow Fever) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้ออาร์โบไวรัส (arbovirus) หรือเชื้อไวรัสไข้เหลือง พบมากในแถบประเทศแอฟริกาและอเมริกาใต้ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โรคนี้ไม่สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัส การวินิจฉัยของโรคอาศัยการตรวจหาแอนติบอดี (antibody) ต่อเชื้อไวรัสในเลือด
โรคไทฟอยด์ (หรือไข้รากสาดน้อย) คือ โรคติดเชื้อชนิดรุนแรงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi โดยเชื้ออาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารหรือน้ำดื่ม และเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน ผู้ที่ได้รับเชื้อไทฟอยด์บางรายอาจไม่มีอาการเจ็บป่วยใดๆ แต่จะเป็นพาหะแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
โรคไข้กาฬหลังแอ่น เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria meningitidis ซึ่งมีอย่างน้อย 12 สายพันธุ์ที่สามารถก่อให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด
โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ “สเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี” (Streptococcus pneumoniae) ซึ่งทุกคนมีโอกาสติดเชื้อได้ แต่บางรายอาจมีอัตราเสี่ยงสูงกว่าผู้อื่น เช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี เด็ก ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้ที่สูบบุหรี่