bih.button.backtotop.text

การฉายรังสี (การฉายแสง)

การฉายรังสี หรือที่มักจะเรียกกันว่าการฉายแสง เป็นประเภทหนึ่งของรังสีรักษา (radiotherapy) ที่ใช้สำหรับบำบัดรักษาโรคมะเร็ง โดยใช้รังสีพลังงานสูงฉายไปตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น ทั้งนี้การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการฉายรังสีจะขึ้นกับระยะของโรคมะเร็ง ชนิดของโรคมะเร็ง และสุขภาพของผู้ป่วยเอง

Overview

การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการฉายรังสีตามตำแหน่งของเซลล์มะเร็งมีดังนี้

  • บริเวณศีรษะและลำคอ ได้แก่ มะเร็งสมอง มะเร็งในโพรงจมูกและไซนัส มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งในช่องปาก มะเร็งในลำคอ มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งต่อมน้ำลายและไทรอยด์
  • บริเวณทรวงอก ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งระบบน้ำเหลือง มะเร็งเต้านม
  • บริเวณช่องท้อง ได้แก่ มะเร็งที่กระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งไต และมะเร็งระบบน้ำเหลืองในช่องท้อง
  • บริเวณท้องน้อย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งมดลูก มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งต่อมลูกหมาก
การฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอใช้ในการรักษามะเร็งต่อไปนี้ มะเร็งในสมอง มะเร็งในโพรงจมูกและไซนัส มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งในช่องปาก มะเร็งในลำคอ มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งต่อมน้ำลายและไทรอยด์
 

วิธีการรักษาด้วยการฉายรังสี

ผู้ป่วยจะถูกจัดตำแหน่งของศีรษะและลำคอ อาจใช้หน้ากากพลาสติกยึดบริเวณศีรษะและลำคอให้อยู่นิ่งกับที่ จากนั้นนักรังสีรักษาจะทำการฉายรังสีตามแผนการรักษาที่วางไว้ รังสีที่ให้แต่ละครั้งใช้เวลาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเทคนิคที่ฉาย ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2-10 นาที แต่ใช้เวลาทั้งสิ้นตั้งแต่การจัดตำแหน่งจนเสร็จวันละประมาณ 15-25 นาที ทำการฉายสัปดาห์ละ 5 วัน ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 5-8 สัปดาห์ตามแต่ชนิดของโรคและแผนการรักษาของแพทย์
 

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยและข้อควรปฏิบัติ

อาการ ข้อควรปฏิบัติ
ผิวหนังแดงคล้ำหรือแห้งคัน - ปล่อยให้ผิวหนังส่วนนั้นถูกอากาศมากที่สุด แต่ไม่ให้ถูกแดด
- บริเวณที่ฉายรังสีสามารถให้น้ำไหลผ่านได้ แล้วซับให้แห้งด้วยผ้านุ่มๆ
- ไม่ใช้สบู่ น้ำหอม แป้ง เครื่องสำอาง ทาบริเวณที่ฉายรังสี ยกเว้นเป็นยาที่แพทย์สั่ง
 
เจ็บคอ ปากแห้ง การรับรสผิดปกติ - ควรจิบน้ำบ่อยๆ
- หมั่นดูแลสุขภาพในช่องปากและลำคอให้สะอาด โดยใช้แปรงสีฟันอ่อนๆ และไหมขัดฟันทำความสะอาดฟันปลอมหลังอาหาร ไม่ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ขายในท้องตลาด
- งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ อาหารรสจัด ร้อน-เย็นจัด ควรรับประทานอาหารอ่อน จืด เปื่อย เหลวและกลืนง่าย
- หากมีอาการมากควรปรึกษาแพทย์
 
อ่อนเพลีย - พักผ่อนให้มากๆ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ลดความวิตกกังวล
- โดยปกติอาการจะค่อยๆ หายไปหลังฉายรังสีเสร็จ หากรู้สึกมีอาการมากควรปรึกษาแพทย์
 

หมายเหตุ: อาจพบผลข้างเคียงอื่นๆ ได้ ขึ้นกับบริเวณที่ฉายรังสีในผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งแตกต่างกัน ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้
การฉายรังสีบริเวณทรวงอกใช้ในการรักษามะเร็งต่อไปนี้ มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งระบบน้ำเหลือง มะเร็งเต้านม
 

วิธีการรักษาด้วยการฉายรังสี

ขณะฉายรังสีให้ผู้ป่วยนอนอยู่นิ่งๆ อาจยกมือทั้งสองข้างไว้เหนือศีรษะหรือวางข้างลำตัว หายใจตามจังหวะปกติ รังสีที่ให้แต่ละครั้งใช้เวลาเพียง 2-10 นาที ขึ้นอยู่กับเทคนิคที่ใช้ แต่ใช้เวลาทั้งสิ้นตั้งแต่จัดตำแหน่งจนเสร็จวันละประมาณ 20-25 นาที ทำการฉายสัปดาห์ละ 5 วัน ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 5-6 สัปดาห์ตามแต่ชนิดของโรคและแผนการรักษาของแพทย์
 

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยและข้อควรปฏิบัติ

อาการ ข้อควรปฏิบัติ
ผิวหนังแดงคล้ำหรือแห้งคัน - ปล่อยให้ผิวหนังส่วนนั้นถูกอากาศมากที่สุด แต่ไม่ให้ถูกแดด
- บริเวณที่ฉายรังสีสามารถให้น้ำไหลผ่านได้ แล้วซับให้แห้งด้วยผ้านุ่มๆ
- ไม่ใช้สบู่ น้ำหอม แป้ง เครื่องสำอาง ทาบริเวณที่ฉายรังสี ยกเว้นเป็นยาที่แพทย์สั่ง
 
มีอาการเจ็บเวลากลืน - ควรรับประทานอาหารเหลวอ่อนๆ จิบน้ำบ่อยๆ ถ้าไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
 
ไอแห้งๆ เล็กน้อย - จิบน้ำบ่อยๆ ถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์
 
อ่อนเพลีย - พักผ่อนให้มากๆ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ลดความวิตกกังวล
- โดยปกติอาการจะค่อยๆ หายไปหลังฉายรังสีเสร็จ หากรู้สึกมีอาการมากควรปรึกษาแพทย์
 

หมายเหตุ: อาจพบผลข้างเคียงอื่นๆ ได้ ขึ้นกับบริเวณที่ฉายรังสีในผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งแตกต่างกัน ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้
การฉายรังสีบริเวณช่องท้องใช้ในการรักษามะเร็งต่อไปนี้ มะเร็งที่กระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งไต และมะเร็งระบบน้ำเหลืองในช่องท้อง
 

วิธีการรักษาด้วยการฉายรังสี

ขณะฉายรังสีให้ผู้ป่วยนอนอยู่นิ่งๆ หายใจตามจังหวะปกติ นักรังสีรักษาจะจัดท่าและตำแหน่งของการฉายรังสีให้ตรงกับที่วางแผนไว้ และทำการฉายรังสีตามเทคนิคของแผนการรักษา รังสีที่ให้แต่ละครั้งใช้เวลาเพียง 2-10 นาที ขึ้นอยู่กับเทคนิคที่ใช้ แต่ใช้เวลาทั้งสิ้นตั้งแต่การจัดท่าและตำแหน่งจนเสร็จวันละประมาณ 20- 25 นาที ทำการฉายสัปดาห์ละ 5 วัน ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 4-6 สัปดาห์ตามแต่ชนิดของโรคและแผนการรักษาของแพทย์
 

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยและข้อควรปฏิบัติ

อาการ ข้อควรปฏิบัติ
ผิวหนังแดงคล้ำหรือแห้งคัน - ปล่อยให้ผิวหนังส่วนนั้นถูกอากาศมากที่สุด แต่ไม่ให้ถูกแดด
- บริเวณที่ฉายรังสีสามารถให้น้ำไหลผ่านได้ แล้วซับให้แห้งด้วยผ้านุ่มๆ
- ไม่ใช้สบู่ น้ำหอม แป้ง เครื่องสำอาง ทาบริเวณที่ฉายรังสี ยกเว้นเป็นยาที่แพทย์สั่ง
 
รู้สึกผะอืดผะอมหลังฉายรังสี 2-3 ชั่วโมง - งดรับประทานอาหารภายใน 2-3 ชั่วโมงก่อนการฉายรังสีหรือรับประทานอาหารเบาๆ จะรู้สึกดีขึ้น
 
คลื่นไส้ อาเจียน - ปรึกษาแพทย์ อาจต้องรับประทานยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน
 
ท้องเดิน หลังจากฉายรังสี 2-4 สัปดาห์ - รับประทานอาหารที่มีกากน้อย งดผัก ผลไม้สด สามารถรับประทานผักที่ปรุงสุกเปื่อย ผลไม้สุก กล้วย
- งดของมันของทอด นม อาหารรสจัด แอลกอฮอล์
- ดื่มน้ำมากๆ
- ถ้าถ่ายบ่อยมากให้ปรึกษาแพทย์
 
อ่อนเพลีย - พักผ่อนให้มากๆ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ลดความวิตกกังวล
- โดยปกติอาการจะค่อยๆ หายไปหลังฉายรังสีเสร็จ หากรู้สึกมีอาการมากควรปรึกษาแพทย์
 

หมายเหตุ: อาจพบผลข้างเคียงอื่นๆ ได้ ขึ้นกับบริเวณที่ฉายรังสีในผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งแตกต่างกัน ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้
การฉายรังสีบริเวณท้องน้อยใช้ในการรักษามะเร็งต่อไปนี้ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งมดลูก มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งต่อมลูกหมาก
 

วิธีการรักษาด้วยการฉายรังสี

ขณะฉายรังสีให้ผู้ป่วยนอนอยู่นิ่งๆ หายใจตามจังหวะปกติ นักรังสีรักษาจะจัดท่าและตำแหน่งของการฉายรังสีให้ตรงกับที่วางแผนไว้ และทำการฉายรังสีตามเทคนิคของแผนการรักษา รังสีที่ให้แต่ละครั้งใช้เวลาเพียง 2-10 นาที ขึ้นอยู่กับเทคนิคที่ใช้ แต่ใช้เวลาทั้งสิ้นตั้งแต่จัดท่าและตำแหน่งจนเสร็จวันละประมาณ 20-25 นาที ทำการฉายสัปดาห์ละ 5 วัน ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 5-8 สัปดาห์ตามแต่ชนิดของโรคและแผนการรักษาของแพทย์ ในบางรายผู้ป่วยจำเป็นต้องดื่มน้ำมากๆ และกลั้นปัสสาวะไว้ก่อนการฉายรังสีเพื่อลดผลข้างเคียงที่จะเกิดกับลำไส้เล็ก ยกเว้นผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะจะต้องปัสสาวะก่อนการฉายรังสี
 

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยและข้อควรปฏิบัติ

อาการ ข้อควรปฏิบัติ
ผิวหนังแดงคล้ำหรือแห้งคัน - ปล่อยให้ผิวหนังส่วนนั้นถูกอากาศมากที่สุด แต่ไม่ให้ถูกแดด
- บริเวณที่ฉายรังสีสามารถให้น้ำไหลผ่านได้ แล้วซับให้แห้งด้วยผ้านุ่มๆ
- ไม่ใช้สบู่ น้ำหอม แป้ง เครื่องสำอาง ทาบริเวณที่ฉายรังสี ยกเว้นเป็นยาที่แพทย์สั่ง
 
ปัสสาวะบ่อยหรือปวดเล็กน้อย - ควรดื่มน้ำมากๆ โดยเฉพาะน้ำผลไม้ที่เป็นกรดอ่อนๆ
- อย่ากลั้นปัสสาวะ
 
ท้องเดินหรือมีอาการปวดเบ่ง - รับประทานอาหารที่มีกากน้อย งดผัก ผลไม้สด สามารถรับประทานผักที่ปรุงสุกเปื่อย ผลไม้สุก กล้วย
- งดของมันของทอด นม อาหารรสจัด แอลกอฮอล์
- ดื่มน้ำมากๆ
- ถ้าถ่ายบ่อยมากให้ปรึกษาแพทย์
 
ถ่ายอุจจาระได้น้อยหลังจากฉายรังสี 2-4 สัปดาห์ - การถ่ายอุจจาระลำบากหรือไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้ควรปรึกษาแพทย์
 
อ่อนเพลีย - พักผ่อนให้มากๆ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ลดความวิตกกังวล
- โดยปกติอาการจะค่อยๆ หายไปหลังฉายรังสีเสร็จ หากรู้สึกมีอาการมากควรปรึกษาแพทย์
 

หมายเหตุ: อาจพบผลข้างเคียงอื่นๆ ได้ ขึ้นกับบริเวณที่ฉายรังสีในผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งแตกต่างกัน ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้
ระหว่างการฉายรังสี รังสีแพทย์จะตรวจประเมินผลการรักษา และดูแลบรรเทาอาการผลข้างเคียงจากการฉายรังสีประมาณสัปดาห์ละครั้ง แต่หากมีอาการผิดปกติก็สามารถเข้าปรึกษาแพทย์ได้ทันที นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการข้างเคียงจากการฉายรังสีมาก บางรายอาจต้องหยุดพัก หรือเข้ารับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล หรือได้รับยาเพื่อลดอาการตามแต่แพทย์เห็นสมควร
 
หลังครบการฉายรังสี ผู้ป่วยยังคงต้องปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับช่วงฉายรังสีต่อ 2-3 สัปดาห์ แพทย์จะนัดให้มาตรวจประเมินผลการรักษาประมาณ 2-4 สัปดาห์หลังฉายรังสีเสร็จ จากนั้นนัดตรวจทุก 1-3 เดือนแล้วแต่ชนิดและขั้นตอนการรักษาของโรค การติดตามผลการรักษาจะห่างขึ้นเป็น 4-6 เดือนจนกระทั่ง 5 ปี ถ้าผู้ป่วยปกติไม่มีอาการของโรค ควรติดตามห่างขึ้นเป็นปีละครั้งตลอดไป

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์วินิจฉัยและบำบัดรักษา

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.68 of 10, จากจำนวนคนโหวต 168 คน

Related Health Blogs